๔. หมายถึงพระขีณาสพ ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้น |
อย่างนี้ว่า โย จ กาลฆโส ภูโต บุคคลใดเป็นผู้กลืนกินกาล. |
๕. หมายถึงสัตว์ทั้งปวง ดังในประโยคทั้งหลาย มีประโยคเป็นต้น |
อย่างนี้ว่า สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ สัตว์ทั้งปวงแล |
ย่อมทิ้งร่างกายไว้ในโลก. |
๖. หมายถึงต้นไม้เป็นต้น ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้น |
อย่างนี้ว่า ภูตคามปาตพฺยตาย ปาจิตฺติยํ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ในเพราะ |
พรากภูตคาม. |
๗. หมายถึงหมู่สัตว์ ซึ่งอยู่ภายใต้ชั้น จาตุมมหาราชิกาลงมา ดังใน |
ประโยคทั้งหลาย มีประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูเต ภูตโต สญฺชานาติ ย่อม |
รู้สัตตนิกายทั้งหลาย โดยความเป็นสัตตนิกาย ดังนี้ก็จริง ถึงกระนั้นในรตน- |
สูตรนี้ บัณฑิตก็พึงเห็นว่า ภูต ศัพท์ ใช้ในอมนุษย์ทั้งหลายโดยไม่แปลกกัน. |
บทว่า สมาคตานิ ได้แก่ประชุมกันแล้ว เทวดาทั้งหลายที่เกิดแล้ว |
ณ ภาคพื้น ชื่อว่า ภุมฺมานิ (ภุมเทวดา) |
วา ศัพท์ ใช้ในวิกัปปัตถะ (แปลว่า หรือ) เพราะเหตุนั้น พระ- |
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงกระทำวิกัปอันหนึ่งนี้ว่า ภุมเทวดาทั้งหลาย เหล่าใด |
หรือภูตทั้งหลายเหล่าใดที่ประชุมกันแล้วในที่นี้ แล้วตรัสว่า ยานิว อนฺตลิกฺเข |
หรือเทพเหล่าใดซึ่งประชุมกันแล้วในอากาศ ดังนี้ เพื่อกระทำวิกัปที่สอง |
อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ภูตทั้งหลายเหล่าใดเกิดแล้วในอากาศ ประชุมกัน |
แล้วในที่นี้. |
ก็ในคำว่า ภูตานิ นี้ ภูตสัตว์เหล่าใด ตั้งแต่ชั้นยามาจนถึงชั้นอกนิฏฐ- |
ภพซึ่งบังเกิดแล้วในอากาศ พึงทราบว่า เป็นภูตในอากาศ ก็เพราะเหตุที่ |