ทั้งหลาย หรือเทวดาทั้งหลายเหล่าใดในอากาศ แล้วทรงกระทำให้เป็นอัน |
เดียวกันอีกว่า สพฺเพว ภูตา ภูตทั้งปวง แล้วทรงประกอบไว้ในอาสยสมบัติ |
ด้วยคำนี้ว่า สุมนา ภวนฺตุ จงเป็นผู้มีใจดี แล้วทรงประกอบในปโยคสมบัติ |
ด้วยคำนี้ว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ ขอจงตั้งใจฟังโดยเคารพ อนึ่ง |
ทรงประกอบในโยนิโสมนสิการสมบัติ และในโฆสสมบัติ ด้วยคำว่า สกฺกจฺจ |
สุณนฺตุ ภาสิตํ ทรงประกอบในอัตตสัมมาปณิธิสมบัติ และสัปปุริสูปนิสสย- |
สมบัติ และทรงประกอบในสมาธิสมบัติ ปัญญาสมบัติ และเหตุสมบัติ ด้วย |
คำว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ จึงได้ตรัสพระคาถานี้. |
คำที่ว่า ตสฺมาหิ ภูตา เป็นต้น เป็นคาถาที่สอง ในบรรดาคำ |
เหล่านั้น คำว่า ตสฺมา เป็นคำบอกเหตุ คำว่า ภูตา เป็นคำเชื้อเชิญภูต. |
คำว่า นิสาเมถ แปลว่า จงฟัง. |
คำว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ ท่านได้อธิบายไว้อย่างไร |
ท่านได้อธิบายไว้ว่า เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลาย (เทวดา) ได้ละทิพยสถาน |
และอุปโภคสมบัติ บริโภคสมบัติ ได้มาประชุมกันในที่นี้เพื่อฟังธรรม หาได้ |
มาเพื่อจะดูนักฟ้อนแสดงการฟ้อนรำไม่ เพราะฉะนั้นแล ขอภูตทั้งปวงจงฟัง |
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่าเทพเหล่านั้นเป็นผู้มีใจดี |
และเห็นว่าเทพเหล่านั้นต้องการที่จะฟังโดยเคารพ จึงได้ตรัสด้วยพระดำรัสว่า |
สกฺกจฺจ สุณนฺตุ จงฟังโดยเคารพ ก็เพราะที่ท่านทั้งหลายประกอบด้วย |
อัตตสัมมาปณิธิ โยนิโสมนสิการ และอาสยสุทธิ โดยความเป็นผู้มีใจดี |
ทั้งประกอบด้วยปโยคสุทธิทั้งหลาย โดยมีสัปปุริสูปนิสสยะ และปรโตโฆสะ |