เป็นปทัฏฐาน เพราะต้องการจะฟังโดยเคารพ ฉะนั้นแล ขอให้ภูตทั้งปวงจง |
ตั้งใจฟัง. |
อีกประการหนึ่ง คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่สุดแห่งคาถา |
แรกว่า ภาสิตํ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอ้างถึงคำนั้นโดยความเป็นเหตุ จึง |
ตรัสว่า ธรรมดาว่าภาษิตของเรา บุคคลได้โดยยากอย่างยิ่ง เพราะเหตุที่ขณะ |
ซึ่งเว้นจากขณะทั้งปวงเป็นขณะที่หาได้ยาก ทั้งเป็นคำมีอานิสงส์เป็นอเนก |
เพราะเป็นไปด้วยปัญญาคุณและกรุณาคุณ และเราต้องการที่จะพูดคำนั้น จึง |
ได้กล่าวว่า สุณนฺตุ ภาสิตํ ขอจงฟังคำที่เรา (ตถาคต) พูด เพราะเหตุ |
นั้นแล คำว่า ภูตา นิสาเมถ สพฺเพ (ขอภูตทั้งปวงจงพึง) นี้ เราได้ |
กล่าวแล้วด้วยบทที่เป็นคาถานี้. |
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกอบเหตุนั้นอย่างนี้แล้ว จึงทรงประกอบ |
ภูตให้ตั้งใจฟังคำภาษิตของพระองค์ ได้ทรงเริ่มเพื่อจะตรัสคำที่ควรฟังว่า |
เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย ขอจงแผ่เมตตาจิตไปในหมู่มนุษย์ ดังนี้. |
เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า หมู่สัตว์คือมนุษย์นี้ใด อันอุปัทวะทั้ง |
๓ ประทุษร้ายแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงเข้าไปตั้งเมตตา คือ มิตรภาพ ได้แก่ |
ความเป็นผู้มีอัธยาศัยเกื้อกูลในหมู่สัตว์ที่เป็นมนุษย์นั้น แต่อาจารย์บางพวก |
เรียกมนุษย์ว่า ปชา คำนั้นไม่ถูก เพราะไม่ได้เป็นสัตตมีวิภัติ และอาจารย์ |
พวกอื่นก็พรรณนาเนื้อความแม้ใดไว้ เนื้อความแม้นั้นก็ไม่ถูก แต่ในคาถานี้มี |
อธิบายว่า เราหาได้เรียก (อย่างนั้น ) ด้วยกำลังแห่งความเป็นใหญ่ว่า เป็นพระ |
พุทธเจ้าไม่ แต่สิ่งใดเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ท่านทั้งหลายด้วย แก่หมู่มนุษย์ |
ด้วย เราก็ได้กล่าวสิ่งนั้นว่า ท่านทั้งหลายจงสร้างเมตตาจิตในหมู่มนุษย์ ดังนี้. |