รัตนะ. สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่บุคคลทำการบูชา มีค่ามาก ชั่งไม่ได้ พบเห็นได้ |
โดยยาก และไม่ใช่เป็นของที่สัตว์ต่ำต้อยบริโภค คำนี้ เป็นชื่อของรัตนะนั้น |
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- |
สิ่งที่บุคคลทำ ความยำเกรง มีค่ามาก |
ชั่งไม่ได้ เห็นได้ยาก และไม่ใช่ของที่สัตว์ |
ต่ำทรามบริโภค เพราะเหตุนี้ เราจึงเรียกว่า |
รัตนะ ดังนี้. |
คำว่า ปณีตํ ได้แก่ ประเสริฐที่สุด คือมีค่าสูง ได้แก่ ไม่ใช่มีค่าน้อย |
คือเป็นที่พอใจ. |
ก็ด้วยบทที่เป็นพระคาถานี้ สิ่งใดซึ่งมีเจ้าของอยู่ในสวรรค์ทั้งหลาย |
มีวิมานซึ่งสำเร็จด้วยรัตนะทั้งปวง อันมีประมาณหลายร้อยโยชน์เป็นอเนก |
เช่น สุธรรมสภา และเวชยันตปราสาทเป็นต้นก็ดี สิ่งใดซึ่งไม่มีเจ้าของอยู่ใน |
วิมานว่าง ในเมื่อสัตว์ทั้งหลายทำอบายภูมิให้เต็ม เพราะเว้นจากพุทธุปบาทกาล |
ก็หรือว่าแม้สิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นรัตนะที่ไม่มีเจ้าของ ซึ่งอยู่ที่พื้นดิน มหาสมุทร |
และป่าหิมพานต์เป็นต้น สิ่งนั้นเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว |
ศัพท์ว่า น ในบาทพระคาถาที่ว่า น โน สมํ อตฺถิ ตถาคเตน |
ดังนี้ ใช้ในอรรถปฏิเสธ. |
ศัพท์ว่า โน ใช้ในอรรถอวธารณะ. |
บทว่า สมํ ได้แก่ เสมอ. |
บทว่า อตฺถิ ได้แก่ มีอยู่. |
บทว่า ตถาคเตน ได้แก่ ด้วยพระพุทธเจ้า. |