๒๘    ๔๗.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖    ๓๐
ทั้งหลายดังนี้.   ชื่อว่า  รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคต    เพราะอรรถว่ามีค่ามาก
อย่างนี้  ย่อมไม่มี.
         อีกอย่างหนึ่ง  รัตนะแม้ได้ชื่อว่ารัตนะ   เพราะอรรถว่าชั่งได้  คืออย่าง
ไร คือจักรรัตนะที่บังเกิดขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ    ซึ่งมีดุมสำเร็จด้วยแก้วอินท -
นิล.  มีซี่กำหนึ่งพันซี่สำเร็จด้วยรัตนะ  ๗  ประการ  มีกงสำเร็จด้วยแก้วประพาฬ
มีที่ต่อสำเร็จด้วยทองสีแดง  ซึ่งมีซี่กำเกลี้ยงๆ อัน หนึ่ง  วางอยู่บนกำทุก ๆ สิบซี่
ซึ่งเขาทำไว้เพื่อให้ต้องลมแล้วเปล่งเสียง   มีเสียงประดุจดนตรีประกอบด้วยองค์
๕  ซึ่งบรรเลงได้ไพเราะ    ฉะนั้น   ณ  ที่ข้างทั้งสองของดุม    มีหน้าสิงห์โตอยู่
๒ หน้า   ซึ่งภายในมีรูดุจรูของล้อเกวียนฉะนั้น    บุคคลผู้ที่กระทำหรือให้กระทำ
จักรรัตนะนั้นไม่มี    จักรรัตนะนั้น     ปรากฏขึ้นด้วยอุตุซึ่งมีกรรมเป็น
ปัจจัย.
         พระราชาทรงบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร  ๑๐  ประการอันใด      ทรงสนาน
พระเศียรในวันเพ็ญ  ๑๕  ค่ำ   อันเป็นวันอุโบสถ   ทรงรักษาอุโบสถเสด็จไปยัง
เบื้องบนปราสาทอันประเสริฐ     ประทับนั่งระลึกถึงศีลทั้งหลายอยู่      ได้เห็น
จักรรัตนะซึ่งตั้งขึ้นอยู่ดุจพระจันทร์เพ็ญ     และดุจพระอาทิตย์ฉะนั้น    ซึ่งบุคคล
ย่อมได้ยินเสียงตั้งแต่  ๑๒ โยชน์   มีวรรณะปรากฏตั้งแต่ ๓ โยชน์   ซึ่งมหาชน
เกิดโกลาหลขึ้นอย่างยิ่งว่า      เห็นจะมีพระจันทร์หรือพระอาทิตย์ขึ้นเป็นดวงที่
สอง  ดังนี้ปรากฏอยู่   ได้ลอยมาเบื้องบนพระนคร   ปรากฏอยู่ในด้านทิศตะวัน
ออกของภายในราชบุรี  ไม่สูงเกินไป  ไม่ต่ำเกินไป   ลอยเด่นอยู่     ประดุจไม่
ไหวติง  ในที่อันสมควร   เพื่อให้มหาชนบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น.
หน้า ๒๙