๓๐    ๔๗.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖    ๓๒
ก็อุ่น  ในเวลาพระราชาร้อน  พระกายของนางแก้วก็เย็น  มีสัมผัสนิ่ม   ดุจปุย
นุ่นที่เขาชีถึง  ๗  ครั้ง     มีกลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากพระกาย    มีกลิ่นอุบลฟุ้งออก
จากพระโอษฐ์   ประกอบด้วยคุณเป็นอเนก  มีการเสด็จลุกขึ้นก่อนเป็นต้น.
         ขุนคลังแก้ว  (คหปติรัตนะ)    เกิดขึ้นติดตามพระเจ้าจักรพรรดินั้น
เป็นเศรษฐีที่ทำการงานตามปกติของพระราชา เพราะพอจักรรัตนะอุบัติขึ้นแล้ว
ทิพยจักษุก็อุบัติขึ้น   เพราะมีทิพยจักษุนั้นแล้วก็เห็นขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของบ้าง
ไม่มีเจ้าของบ้าง    ในที่ประมาณได้  ๑ โยชน์โดยรอบ    ขุนคลังนั้นเข้าไปเฝ้า
พระราชาแล้ว  ปวารณาตัวว่า    ข้าแต่สมมติเทพ     ขอพระองค์จงมีความขวน-
ขวายน้อย  ข้าพระองค์จักทำกิจที่ควรทำด้วยทรัพย์เพื่อพระองค์
         แม้ขุนพลแก้ว   (ปริณายกรัตนะ)     ก็เกิดติดตามพระเจ้าจักรพรรดิ
แม้นั้น     ซึ่งเป็นราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชา     พอเมื่อจักรรัตนะอุบัติขึ้น
ก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาและความเฉียบแหลมอย่างเหลือล้น  ขุนพลแก้วนั้น
กำหนดรู้จิตของบริษัทประมาณ  ๑๒ โยชน์  ด้วยจิต  (ของตน)   ทั้งสามารถจะ
ทำการข่มและการยกย่อง     เขาเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วทูลปวารณาว่า     ข้าแต่
สมมติเทพ    ขอพระองค์จงเป็นผู้ขวนขวายน้อย   ข้าพระองค์จะปกครองราชสมบัติ
เพื่อพระองค์.
         ก็หรือว่ารัตนะเห็นปานนี้แม้อื่นใด.   ก็ชื่อว่ารัตนะเหมือนกับพระอรรถ-
กถาจารย์ว่าอัน ใคร  ๆ ชั่งไม่ได้   ซึ่งมีค่าที่ใคร ๆ ไม่อาจที่จะชั่งตวงแล้วตีราคาว่า
มีค่า  ๑๐๐  หรือมีค่า  ๑,๐๐๐  หรือมีค่า  ๑  โกฏิ   แม้รัตนะอย่างหนึ่ง  ในบรรดา
รัตนะเหล่านี้   ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มี  ก็ถ้าหากว่ารัตนะอื่นใด  พึงเป็นรัตนะ
หน้า ๓๑