๓๐๑    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๐๓
           ศีล     ปัญญาและสุตะ     มีในตน     ผู้นั้นย่อม
           ประพฤติประโยชน์แก่คนทั้ง  ๒  ฝ่าย   คือทั้ง
           แก่ตนเองและผู้อื่น.   เพราะฉะนั้น   ธีรชนควร
           ชั่งใจดูตัวเองเหมือนชั่งใจดูศีล      ปัญญาและ
           สุตะฉะนั้นแล้ว  จึงบริหารหมู่คณะบ้าง อยู่คน
           เดียวเว้นการบริหารบ้าง.
         บรรดาบทเหล่านั้น    บทว่า    ลหุจิตฺตสฺส     ความว่า    พึงเป็นผู้มี
ใจเบา     มีคำอธิบายว่า   คนใดคล้อยตาม   คืออนุวัตรตามมิตรหรือญาติ
ผู้ใจเบา   เมื่อคนนั้นคล้อยตาม    เขาก็จะเป็นหัวหน้าใจเบา    ทำหน้าที่
ของผู้จองเวร.   บทว่า   เอกสฺส   กปิโน    ความว่า    สูเจ้าทั้งหลายจงดู
เถิด เพราะเหตุกระบี่ใจเบาคือเป็นอันธพาลตัวเดียว  เขาได้ทำความย่อย-
ยับ   คือความไม่เจริญ    ได้แก่ความพินาศใหญ่หลวงนี้ให้แก่กระบี่สิ้นทั้ง
ฝูง.    บทว่า   ปณฺฑิตมานี  มีเนื้อความว่า ผู้ใดรู้ตนเองเป็นคนโง่  แต่
สำคัญตนว่า   เราเป็นผู้ฉลาด   ไม่ทำตามโอวาทของท่านผู้ฉลาด    ตกอยู่
ในอำนาจความคิดของตน  ผู้นั้นจะลุอำนาจความคิดของตนแล้ว  คงนอน
เหมือนกะบี่หัวดื้อตัวนี้แหละนอนตายอยู่.     บทว่า   น   สาธุ    ความว่า
ธรรมดาคนโง่  แต่มีกำลังพร้อมบริหารหมู่คณะ  ย่อมไม่ดี  คือไม่ปลอด-
ภัย    เพราะเหตุไร     เพราะเขาไม่มีประโยชน์สำหรับเหล่าญาติ   คือนำ
หน้า ๓๐๒