๓๐๒    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๐๔
ความพินาศมาให้อย่างเดียว.        บทว่า   สกุณานํว  เจกโต    ความว่า
อุปมาเสมือนหนึ่งว่า   บรรดานกกระทาทั้งหลาย  นกกระทำที่เป็นนกต่อ
ขันทั้งวัน    ก็ไม่ทำให้นกชนิดอื่นตาย     ทำให้พวกพ้องของตนเท่านั้น
แหละตาย   ฉันใด   คนโง่ก็ไม่มีประโยชน์แก่หมู่คณะเหล่านั้นเลย  อธิ-
บายว่า   ฉันนั้นเหมือนกัน.   บทว่า  หิโต   ภวติ   ความว่า  ธีรชน  เป็น
ผู้ทำประโยชน์เกื้อกูลแก่เหล่าญาตินั่นเอง   ด้วยกายบ้าง   ด้วยวาจาบ้าง.
บทว่า   อุภินฺนมตฺถํ    จรติ    ความว่า    คนในโลกนี้    ผู้ที่มองเห็นคุณ-
ธรรมเหล่านั้นมีศีลเป็นต้นในตนรู้ว่า  อาจาระและศีลของเราก็มี  ปัญญา
ก็มี     การศึกษาเล่าเรียนก็มี     ทราบตามความจริงแล้วบริหารหมู่คณะ
ชื่อว่าประพฤติประโยชน์ถ่ายเดียวแก่คนทั้ง ๒ ฝ่าย    คือทั้งแก่ตนและผู้
อื่น  ได้แก่เหล่าญาติผู้เที่ยวห้อมล้อมตน.   บทว่า    ตุเลยฺยมตฺตานํ    ตัด
บทเป็น    ตุเลยฺย     อตฺตานํ      คือชั่งใจดูตัวเองแล้ว.    บทว่า      ตุเลยฺย
ได้แก่   ตุเลตฺวา  คือชั่งใจดูตัวเองแล้ว.  บทว่า  สีลํ  ปญฺํ  สุตํปิว  ความว่า
พิจารณาดูคุณธรรมทั้งหลาย    มีศีลเป็นต้นในตนอยู่      ชื่อว่าประพฤติ
ประโยชน์แก่คนทั้ง  ๒  ฝ่าย    ฉะนั้น ธีรชนควรชั่งใจดูตนเอง   เหมือน
บัณฑิตชั่งใจดูคุณธรรมมีศีลเป็นต้นเหล่านั้น   คือ  พิจารณาดูว่าเราดำรง
อยู่แล้วในศีล  ในปัญญา  ในสุตะหรือไม่ ?     ทำความที่ตนดำรงอยู่ใน
คุณธรรมเหล่านั้นให้ประจักษ์แล้ว   จึงบริหารหมู่คณะบ้าง  อยู่คนเดียว
หน้า ๓๐๓