๓๐๙    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๑๑
การเกิดเป็นพรหมนี้    เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย    คือการถึงส่วนหลังที่สุด
ได้แก่การเข้าถึงความเป็นผู้ประเสริฐที่สุด.    บทว่า      อสฺมาภิชปฺปนฺติ
ชนา   อเนกา   ความว่า  คนอื่นมากมายพากันทำอัญชลี  พวกข้าพระองค์
กล่าวคำมีอาทิว่า  นี้แลคือพระพรหมพระมหาพรหมผู้เจริญ  นมัสการคือ
ปรารภ  ได้แก่กระหยิ่มอยู่    อธิบายว่า    ปรารถนาอยู่ว่าอัศจรรย์หนอ  !
เราทั้งหลายควรจะเป็นแบบนี้.
         พระศาสดา   ครั้นทรงสดับถ้อยคำของพกพรหมนั้นแล้ว  จึงตรัส
คาถาที่  ๒  ว่า :-
                        ดูก่อนพรหม     ความจริงอายุของท่านนี้
           น้อยไม่มากเลย   แต่ท่านสำคัญว่าอายุของท่าน
           มา    จำนวนแสนนิรัพพุทะ  ดูก่อนพรหม  เรา
           ตถาคตรู้อายุของท่าน.
         บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า  สตํ   สหสฺสาน   นิรพฺพุทานํ  ความว่า
การนับกล่าวคือนิรัพพุทะ   มีหลายแสน.   อธิบายว่า   สิบสิบปีเป็นร้อย
สิบร้อยเป็นพัน.    ร้อยพันเป็นแสน.   ร้อยแสนชื่อว่าโกฏิ.    ร้อยแสน
โกฏิชื่อว่าปโกฏิ.    ร้อยแสนปโกฏิชื่อว่าโกฏิปโกฏิ.    ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ
ชื่อว่า ๑  นหุต.  ร้อยแสนนหุตชื่อว่า  ๑  นินนหุต.  นักคำนวณที่ฉลาด
สามารถนับได้เพียงเท่านี้  ขึ้นชื่อว่าการนับต่อจากนี้ไป เป็นวิสัยของพระ-
หน้า ๓๑๐