๓๑๔    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๑๖
         บทว่า   คหิตนาวํ  ได้แก่เรือที่พ่วงขนานกัน.   บทว่า   ลุทฺเธน
ความว่า   ผู้หยาบคาย.   บทว่า   มนุสฺสกปฺปา  ความว่า   เพราะต้องการ
ให้พวกมนุษย์พินาศ.    บทว่า    พลสา    ความว่า   ด้วยกำลัง    บทว่า
ปสยฺห  ความว่า  ข่มขู่.
         ในกาลต่อมา   ดาบสพักอยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา    ครั้งนั้นคนทั้ง
หลายพากันผูกเรือขนาน  ๒ - ๓  ลำติดกัน  แล้วสร้างมณฑปดอกไม้ไว้
ที่ยอดเรือขนาน   นั่งกินนั่งดื่มอยู่ในเรือขนาน  แล่นไปที่ฝั่งสมุทร พวก
เขาพากันเทสุราที่เหลือจากดื่ม     ข้าวปลาเนื้อและหมากพลูเป็นต้น    ที่
เหลือจากที่กินและเหลือจากที่ขบเคี้ยวแล้วลงแม่น้ำคงคานั่นเอง.   พญา-
นาคชื่อว่าคังเคยยะโกรธว่า       คนพวกนี้โยนของที่เหลือกินลงเบื้องบน
เรา  หมายใจว่า  เราจักรวบคนเหล่านั้นให้จมลงในแม่น้ำคงคาหมดทุกคน
แล้วเนรมิตอัตภาพใหญ่ประมาณเท่าเรือโกลนลำหนึ่ง      แหวกน้ำขึ้นมา
แผ่พังพานลอยน้ำไปตรงหน้าคนเหล่านั้น.      พวกเขาพอเห็นพญานาค
เท่านั้น   ก็ถูกมรณภัยคุกคามส่งเสียงร้องลั่นขึ้นพร้อมกันที่เดียว.    ดาบส
ได้ยินเสียงคร่ำครวญของพวกเขา     ก็รู้ว่าพญานาคโกรธ    คิดว่า   เมื่อ
เราเห็นอยู่ขอคนทั้งหลายจงอย่าพินาศเถิด        แล้วได้รีบเนรมิตอัตภาพ
เป็นเพศครุฑบินไปด้วยอานุภาพของตน  โดยติดต่อกันโดยพลัน.   พญา-
นาคเห็นครุฑนั้นแล้ว        หวาดกลัวความตายจึงดำลงไปในน้ำ.    พวก
มนุษย์ถึงความสวัสดีแล้วจึงได้ไปกัน   พระผู้มีพระภาคเจ้า   ตรัสคำว่า
คงฺคาย  โสตสฺมึ   ฯ เป ฯ   อนุสฺสรามิ  นั่นทรงหมายเอาดาบสนั้น.
หน้า ๓๑๕