๓๒๕    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๒๗
         บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า   โกฏฺ€าคารานิ  ได้แก่คลังทองคลัง
เงินคลังแก้วมีแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น     ทั้งคลังผ้าและคลังข้าว
เปลือก.    บทว่า    ผีตานิ    ความว่า   เต็มแล้ว.   บทว่า    สนฺนิธินฺทานิ
กุพฺพสิ  ความว่า   บัดนี้    ท่านยังจะทำการสะสมเพียงเกลือ  ด้วยคิดว่า
จักใช้พรุ่งนี้   จักใช้วันที่  ๓.
         วิเทหดาบส    ถูกตำหนิอยู่อย่างนี้     ทนคำตำหนิไม่ได้    กลาย
เป็นปฏิปักษ์ไป   เมื่อจะแย้งว่า  ข้าแต่ท่านอาจารย์  ท่านไม่เห็นโทษของ
ตัวเอง  เห็นแต่โทษของผมอย่างเดียว  ท่านดำริว่า  เราจะประโยชน์อะไร
ด้วยคนอื่นที่ตักเตือนเรา   เราจักเตือนตัวเราเอง   ทอดทิ้งราชสมบัติออก
บวชแล้ว แต่วันนี้เหตุไฉนท่านจึงตักเตือนผม  จึงได้กล่าวคาถาที่  ๒ ว่า:-
                        ท่านละทิ้งอยู่คือคันธารรัฐ  หนีจากการ
           ปกครอง      ในราชธานีที่มีทรัพย์พอเพียงแล้ว
           บัดนี้   ยังจะปกครองในที่นี้อีก.
         บรรดาบทเหล่านั้น    บทว่า    ปสาสนิโต    ความว่า   จากการ
ตักเตือนและการพร่ำสอน. บทว่า  อิธ   ทานิ  ความว่า  เหตุไฉน   บัดนี้
ท่านจึงตักเตือนในที่นี้   คือในป่าอีก.
         พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้ว  ได้กล่าวคาถาที่  ๓  ว่า :-
                        ดูก่อนท่าน  วิเทหะ        เรากล่าวธรรม
           ความจริง   เราไม่ชอบอธรรมความไม่จริง  เมื่อ
หน้า ๓๒๖