เรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่ บาปก็ไม่เปรอะเปื้อน |
เรา. |
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมํ ได้แก่สภาวะความเป็นเอง |
คือเหตุที่บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงพรรณนาสรรเสริญ |
แล้ว. บทว่า อธมฺโม เม น รุจฺจติ ความว่า ธรรมดาอธรรมไม่ใช่ |
สภาวะความเป็นเอง เราก็ไม่ชอบใจแต่ไหนแต่ไรมา. บทว่า น |
ปาปมุปลิมฺปติ ความว่าเมื่อเรากล่าวสภาวะนั่นเองหรือเหตุนั่นแหละอยู่ |
ขึ้นชื่อว่าบาปจะไม่ติดอยู่ในใจ. ธรรมดาการให้โอวาทนี้เป็นประเพณี |
ของพระพุทธเจ้า พระปักเจกพุทธเจ้าและพระสาวกและโพธิสัตว์ทั้ง |
หลาย. ถึงคนพาลจะไม่รับเอาโอวาทที่ท่านเหล่านั้นให้แล้ว แต่ผู้ให้ |
โอวาทก็ไม่มีบาปเลย. เมื่อจะแสดงอีกจึงกล่าวคาถาว่า :- |
ผู้มีปัญญา คนใดมักชี้โทษมักพูดบำราบ |
คนควรมองให้เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ ควรคบ |
บัณฑิตเช่นนั้น เพราะว่า เมื่อคบบัณฑิตเช่น |
นั้น จะมีแต่ความดีไม่มีความชั่ว คนควรตัก |
เตือน ควรพระสอนและควรห้ามเขาจากอสัต- |
บุรุษ เพราะและเป็นที่รักของเหล่าสัตบุรุษ |
ไม่เป็นที่รักของเหล่าอสัตบุรุษ. |