๓๒๗    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๒๙
         วิเทหดาบสฟังถ้อยคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว  กล่าวว่า   ข้าแต่
ท่านอาจารย์    บุคคลแม้เมื่อกล่าวถ้อยคำที่อิงประโยชน์   ก็ไม่ควรกล่าว
กระทบเสียดแทงผู้อื่น   ท่านกล่าวคำหยาบคายมาก       เหมือนโกนผม
ด้วยมีดโกนไม่คม     แล้วจึงกล่าวคาถาที่  ๔  ว่า :-
                        คนอื่นได้รับความแค้นเคือง  เพราะคำพูด
           อย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงแม้ว่าคำนั้นจะมีประโยชน์
           มาก  บัณฑิตก็ไม่ควรพูด.
         บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า   เยนเกนจิ   ความว่า  ด้วยเหตุ  แม้
ประกอบด้วยธรรม. บทว่า  ลภติ   รุปฺปนํ   ความว่า  ได้รับความกระทบ
กระทั่ง   ความแค้นเคืองคือความเดือดดาล.   บทว่า   นตํ   ภาเสยฺย    มี
เนื้อความว่า        เพราะฉะนั้น      บุคคลไม่ควรกล่าววาจาที่เป็นเหตุให้
ประทุษร้ายบุคคลอื่นนั้นที่มีประโยชน์มาก  คือแม้ที่อิงอาศัยประโยชน์
ตั้งมากมาย.
         ลำดันนั้น   พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถาที่  ๕   แก่วิเทหดาบสนั้น
ว่า :-
                        ผู้ถูกตักเตือน   จะแค้นเคืองหรือไม่แค้น
           เคืองก็ตามเถิด      หรือจะเขี่ยทิ้งเหมือนโปรย
           แกลบทิ้งก็ตาม     เมื่อเรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่
           ขึ้นชื่อว่าบาป  ย่อมไม่เปรอะเปื้อนเรา.
หน้า ๓๒๘