๓๒๘    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๓๐
         บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า    กามํ   ความว่า.   โดยส่วนเดียว.  มี
คำอธิบายว่า บุคคลผู้ทำกรรมไม่สมควร เมื่อถูกตักเตือนว่า ท่านทำกรรม
ไม่ควรแล้ว    จะโกรธโดยส่วนเดียวก็ตาม   หรือไม่โกรธก็ตาม.   อีก
อย่างหนึ่งเขาจะเขี่ยทิ้งเหมือนกำแกลบหว่านทิ้งก็ตาม  แต่ว่าเมื่อเรากล่าว
คำเป็นธรรมอยู่  ขึ้นชื่อว่าบาปย่อมไม่มี.
         ก็แหละพระโพธิสัตว์   ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว   ได้ดำรงอยู่ในข้อ
ปฏิบัติที่สมควรแก่โอวาทของพระสุคตนี้ว่า   ดูก่อนอานนท์   เราตถาคต
จักไม่ทะนุถนอมเลย      เหมือนช่างหม้อทะนุถนอมภาชนะดินเหนียวที่
ยังดิบ ๆ  ฉะนั้น    เราตถาคตจักบำราบเอาบำราบเอา   ผู้ใดหนักแน่นเป็น
สาระ   ผู้นั้นก็จักดำรงอยู่ได้   เมื่อจะตักเตือนวิเทหดาบสอีก    เพื่อแสดง
ให้เห็นว่า   ท่านตักเตือนบำราบแล้ว   ตักเตือนบำราบอีก     จึงรับบุคคล
ทั้งหลายผู้เช่นกับภาชนะดินที่เผาสุกแล้วไว้    เหมือนช่างหม้อเคาะดูแล้ว
เคาะดูอีก   ไม่รับเอาภาชนะดินที่ยังดิบไว้   รับเอาเฉพาะภาชนะดินที่เผา
สุกแล้วเท่านั้นไว้ฉะนั้นดังนี้แล้ว   จึงได้กล่าวคาถา  ๒  คาถาไว้ว่า :-
                        ถ้าสัตว์เหล่านี้ไม่มีปัญญาของตนเอง หรือ
           วินัยที่ศึกษาดีแล้วไซร้         คนจำนวนมากก็จะ
           เที่ยวไป   เหมือนกระบือตาบอดเที่ยวไปในป่า
           ฉะนั้น  แต่เพราะเหตุที่ธีรชนบางเหล่า  ศึกษาดี
หน้า ๓๒๙