๓๒๙    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๓๑
           แล้วในสำนักอาจารย์ฉะนั้น    ธีรชนผู้มีวินัยที่
           ได้แนะนำแล้ว   จึงมีจิตตั้งมั่นเที่ยวไปอยู่.
         คาถานี้มีเนื้อความว่า   ดูก่อนสหายวิเทหะ   เพราะว่าถ้าหากสัตว์
เหล่านี้    ไม่มีปัญญาหรือไม่มีวินัยคืออาจารบัญญัติ   ที่ศึกษาดีแล้วเพราะ
อาศัยเหล่าบัณฑิตผู้ให้โอวาทไซร้   เมื่อเป็นเช่นนี้คนเป็นอันมาก   ก็จะ
เป็นเช่นท่านเที่ยวไป    เหมือนกระบือตาบอด  ไม่รู้ที่ ๆ เป็นที่โคจรหรือ
อโคจร    มีสิ่งที่น่ารังเกียจหรือไม่มีสิ่งที่น่ารังเกียจ    เที่ยวไปในพงหญ้า
และเถาวัลย์เป็นต้น       แต่เพราะเหตุที่สัตว์      บางพวกในโลกนี้       ที่
ปราศจากปัญญาของตนศึกษาดีแล้ว   ด้วยอาจารบัญญัติในสำนักอาจารย์
เพราะฉะนั้น   สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีวินัยที่แนะนำแล้ว  เพราะตนเป็นผู้ที่
อาจารย์แนะนำแล้ว     ด้วยวินัยที่เหมาะสม      คือเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว
ได้แก่เป็นผู้มีจิตเป็นสมาธิเที่ยวไปดังนี้.      ด้วยคาถานี้ท่านคันธารดาบส
แสดงคำนี้ไว้ว่า   จริงอยู่    คนนี้เป็นคฤหัสถ์    ก็ศึกษาสิกขาที่สมควรแก่
ตระกูลของตน เป็นบรรพชิตก็ศึกษาสิกขาที่สมควรแก่บรรพชิต  อธิบาย
ว่า    ฝ่ายคฤหัสถ์เป็นผู้ศึกษาดีในกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น    ที่
เหมาะสมแก่ตระกูลของตนแล้วเที่ยว    ก็จะเป็นผู้มีความเป็นอยู่สมบูรณ์
มีใจมั่นคงเที่ยวไป.  ส่วนบรรพชิต   เป็นผู้ศึกษาดีในอาจาระมีการก้าวไป
ข้างหน้าและการถอยกลับเป็นต้น   และในอธิสีลสิกขา   อธิจิตสิกขาและ
อธิปัญญาสิกขาทั้งหลายที่เหมาะสมแก่บรรพชิต   ที่น่าเลื่อมใสแล้วก็เป็น
หน้า ๓๓๐