๓๕๐    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๕๒
แล้วยังปัจเจกโพธิญาณให้เกิด.    ข้อความที่เหลือเป็นเช่นกับข้อความแต่
ก่อนนั่นแหละ.
         ที่มิถิลานครในวิเทหรัฐ   พระเจ้านิมิราช   เสวยพระกระยาหาร
เช้าแล้ว มีคณะอำมาตย์แวดล้อม    ได้ประทับยืนทอดพระเนตรระหว่าง
ถนน   ทางสีหบัญชรที่เปิดไว้.   ครั้งนั้น  เหยี่ยวตัวหนึ่ง  คาบเอาชิ้นเนื้อ
จากเขียงที่ตลาดแล้วบินขึ้นฟ้าไป.    นกทั้งหลายมีแร้งเป็นต้น    บินล้อม
เหยี่ยวตัวนั้น    ข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง     ใช้จะงอยปากจิกใช้ปีกตี    ใช้
เท้าเฉี่ยวไป   เพราะเหตุแห่งอาหาร.   มันทนการรังแกตนไม่ไหว   จึงทิ้ง
ก้อนเนื้อก้อนนั้นไป.   นกตัวอื่นก็คาบเอาเนื้อก้อนนั้นไป.   นกเหล่าอื่น
ก็พากันละเหยี่ยวตัวนี้ติดตามนกตัวนั้นไป.         ถึงนกตัวนั้นปล่อยแล้ว
ตัวอื่นก็คาบไป  นกทั้งหลายก็พากันรุมตีนกแม้ตัวนั้นอย่างนั้นเหมือนกัน
พระราชาทรงเห็นนกเหล่านั้นแล้ว ทรงดำริว่า นกตัวใด ๆ คาบก้อนเนื้อ
นกตัวนั้น ๆ นั่นแหละมีความทุกข์   ส่วนนกตัวใด ๆ ทิ้งสละก้อนเนื้อนั้น
ทิ้ง    นกตัวนั้น ๆ นั่นแหละมีความสุข.  แม้กามคุณทั้ง  ๕  เหล่านี้ ผู้ใด ๆ
ยึดถือไว้   ผู้นั้น ๆ นั่นแหละ    มีความทุกข์    ส่วนผู้ไม่ยึดถือนั่นแหละ
มีความสุข เพราะว่ากามเหล่านี้ เป็นของสาธารณะสำหรับคนจำนวนมาก.
ก็แล  เรามีหญิงหมื่นหกพันนาง   เราควรจะละกามคุณทั้ง  ๕   แล้วเป็น
สุขเหมือนเหยี่ยวตัวที่ทิ้งก้อนเนื้อฉะนั้น.       พระองค์ทรงมนสิการโดย
แยบคายอยู่ทั้ง ๆ ที่ทรงนั่งอยู่นั่นแหละ  ทรงกำหนดไตรลักษณ์   เจริญ
หน้า ๓๕๑