๓๕๔    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๕๖
         บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า   อมฺพาหมทฺทํ  ความว่า  อาตมภาพ
ได้เห็นต้นมะม่วงแล้ว.   บทว่า  วนมนฺตรสฺมึ   ความว่า   ในระหว่าง
ป่า   อธิบายว่า   ท่ามกลางป่ามะม่วง.   บทว่า   สํวิรูฬฺหํ  ความว่า  เจริญ
ดีแล้ว.    บทว่า    ตมทฺทสํ   ความว่า    เมื่อออกไปจากพระราชอุทยาน
อาตมภาพได้เห็นมะม่วงต้นนั้นอีกหักย่อยยับ      เพราะผลเป็นต้นเหตุ.
บทว่า ตํ  ทิสฺวา  ความว่า ครั้นเห็นมะม่วงต้นนั้นหักย่อยยับ เพราะผลเป็น
ต้นเหตุแล้ว    อาตมภาพได้ความสังเวชใจ  ยังปัจเจกโพธิญาณให้เกิดขึ้น
แล้วได้เข้าถึงการบรรพชา     ด้วยอำนาจภิกขาจาริยวัตร    เพราะฉะนั้น
อาตมภาพจึงประพฤติภิกขาจาริยวัตร.  ท่านบอกวารจิตทุกอย่างนี้  จำเดิม
แต่การเห็นต้นมะม่วงหักย่อยยับ   เพราะผลเป็นเหตุ.   แม้ในคำตอบของ
พระปัจเจกพุทธเจ้าที่เหลือ      ก็มีนัยนั้นเหมือนกัน.      แต่ในคำตอบนี้
มีอรรถกถาคำที่ยาก ดังต่อไปนี้.   บทว่า  เสลํ  ได้แก่กำไลแขนแก้วมณี
หยก.  บทว่า   นรวีรุนิฏฺ€ิตํ  ความว่า  ที่นรชนผู้ประเสริฐ  คือช่างทั้งหลาย
เจียระไนแล้ว.  อธิบายว่า    ที่คนผู้ฉลาดทั้งหลายทำแล้ว. บทว่า    ยุคํ
ได้แก่กำไลแขนคู่หนึ่งโดยทำข้างละอัน.    บทว่า    ทิชา   ทิชํ    ความว่า
นกที่เหลือก็รุมจิกตีนกตัวที่คาบชิ้นเนื้อไป. บทว่า กุณปมาหรนฺตํ ความว่า
นำเอาก้อนเนื้อไป.  บทว่า  สเมจฺจ  ความว่า  มารวมกัน  คือชุมนุมกัน.
บทว่า   ปริปาตยึสุ    ความว่า   ติดตามจิกตี.   บทว่า     อุสภาหมทฺทํ
ความว่า     อาตมภาพได้เห็นอสุภะ.   บทว่า    วลกฺกกุํ   ได้แก่มีหนอก
สวยงาม.
หน้า ๓๕๕