๓๗๐    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๗๒
         บรรดาคาถาเหล่านั้น   คาถาที่ ๑ มีเนื้อความว่า    คนบางตนใน
โลกนี้เป็นชาติแห่งผู้ไม่รู้   คือโง่ก่อน.    บทว่า   ยาวตาสึสตี    ความว่า
ตราบใดเขายังหวังอยู่ว่า    คนนี้จักอาจกระทำสิ่งนี้แก่เรา   ตราบนั้นเขา
ก็ยังคบหาสมาคมคนคนนั้นอยู่  แต่ในเวลาเขาเสื่อมประโยชน์แล้ว  คือ
ในเวลาไม่ถึงความเจริญแล้ว  ได้แก่เวลาเสื่อมเสียแล้ว   คนโง่บางจำพวก
ก็จะละทิ้งคน ๆ นั้น   ผู้ดำรงอยู่แล้วในกิจนานาชนิด  เหมือนขัตติยราช-
พระองค์นี้   ทรงละทิ้งช้างพังโอฏฐิพยาธิตัวนี้  ฉะนั้น.   บทว่า    กตกลฺ-
ยาโณ  ความว่า  ผู้มีกัลยาณธรรมที่ผู้อื่นทำแล้วแก่ตน.   บทว่า   กตตฺโถ
ความว่า   ผู้สำเร็จกิจแล้ว.     บทว่า   นาวพุชฺฌติ   ความว่า ไม่ระลึกถึง
อุปการะนั้น   ที่คนอื่นทำแล้ว   ในเวลาเขาแก่แล้ว  คือยึดเอายศแม้ที่ตน
ให้แล้วอีกคืน.  บทว่า  ปลุชฺชนฺติ   ความว่า   หักสะบั้นไปคือพินาศไป.
ด้วยบทว่า  เย  โหนฺติ  อภิปตฺถิตา  พระโพธิสัตว์แสดงว่า  ขึ้นชื่อว่าคน
โง่บางพวกที่ปรารถนาแล้ว  จะพินาศทั้งหมด.   เพราะว่า  ความปรารถนา
นั้นของบุคคลผู้ประทุษร้ายต่อมิตรจะพินาศไป    เหมือนพืชที่วางไว้ใกล้
ไฟฉะนั้น.   บทว่า    กตตฺโถ   มนุพุชฺฌติ    ท่านรับเอาแล้วด้วยสามารถ
แห่งพยัญชนะสนธิ.   บทว่า   ตํ  โว  วทามิ   ความว่า    เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าขอกล่าวกะท่านทั้งหลาย.  บทว่า  €สฺสถ  ความว่า  ท่านทั้งหลาย
เป็นคนกตัญญูจักเสวยทิพยสมบัติสถิตอยู่ในสวรรค์ตลอดกาลนาน.
         พระมหาสัตว์ได้ให้โอวาทแก่คนทั้งหมด     ตั้งต้นแต่พระราชาที่
มาประชุมกันแล้ว.   พระราชาทรงสดับโอวาทนั้นแล้ว  ได้ทรงแต่งตั้งยศ
หน้า ๓๗๑