๓๗๖    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๗๘
ต้อนรับเราไกลถึงในป่า  ที่ไม่มีคนนี้.   บทว่า  อายติ  ความว่า  ถึงพร้อม
ด้วยกาลที่ยาวนาน.
         ดาบสเดินมาพลางคร่ำครวญไปพลางอย่างนี้     เห็นลูกช้างนั้นล้ม
อยู่ที่จงกรมแล้ว   เมื่อจับคอคร่ำครวญอยู่   จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
                        นี้เองคือช้างโสมทัตตเชือกนั้น  นอนตาย
           แล้ว   มันนอนตายอยู่ที่พื้นดิน    เหมือนยอด
           เถาย่านทราย  ที่ถูกเด็ดทิ้งแล้ว โสมทัตตกุญชร
           ได้ตายไปแล้วหนอ.
         วา  ศัพท์  ในคำว่า  อยํ  วา ในคาถานั้น   มีความหมายว่า  ทำ
ให้แจ่มชัด.   ดาบสเมื่อจะให้เรื่องนั้นชัดแจ้งว่า   ช้างเชือกนี้เอง   คือช้าง
โสมทัตตนั้น  ไม่ใช่เชือกอื่น. บทว่า อลฺลปิตํ ได้แก่ ปลายหน่อของเถา
ย่านทราย.  บทว่า  วิจฺฉิโต   ความว่า  เด็ดขาดแล้ว  มีอธิบายว่า  เหมือน
หน่อเถาย่านทราย  ที่เขาเอาเล็บเด็ดทิ้งลงที่เนินทรายร้อน ๆ  ในกลางฤดู
ร้อน.  บทว่า.  ภุมฺยา  ได้แก่  ภูมิยํ   คือบนพื้นดิน.  บทว่า   อมรา  วต
ความว่า   ตายแล้วหนอ.   ปาฐะว่า   อมรี   ก็มี.
         ในขณะนั้น  ท้าวสักกะกำลังตรวจดูสัตว์โลก  ทรงเห็นเหตุการณ์
นั้น  ทรงดำริว่า  ดาบสนี้ละทิ้งลูกเมียไปบวชแล้ว   บัดนี้ยังมาสร้างความ
สำคัญในลูกช้างว่าเป็นลูกคร่ำครวญอยู่    เราจักให้ท่านสลดใจแล้วได้สติ
หน้า ๓๗๗