๓๘๓    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๘๕
         ในอดีตกาล     เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี      พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดในท้องของภรรยาหลวงของปุโรหิต
ของพระองค์.  ในวันที่พระโพธิสัตว์เกิดนั่นเอง   ฝ่ายพระราชโอรสของ
พระเจ้าพาราณสีก็ประสูติ.       ในวันขนานนามและพระนามของกุมาร
และพระราชกุมารเหล่านั้น    พวกปุโรหิตขนานนามพระมหาสัตว์นั้นว่า
สุสีมกุมาร   ส่วนพระนามของพระราชบุตรว่า พรหมทัตกุมาร. พระเจ้า
พาราณสีทรงดำริว่า    สุสีมกุมารเกิดวันเดียวกันกับบุตรของเรา     จึงมี
พระบรมราชโองการไปยังพระโพธิสัตว์   พระราชทานพี่เลี้ยง  ทรงให้
เจริญวัยพร้อมกับพระราชกุมารนั้น.  กุมารแม้ทั้ง ๒ นั้น  จำเริญวัยแล้ว
เป็นผู้มีรูปร่างสวยงาม มีผิวพรรณเหมือนเทพกุมาร  เรียนศิลปะทุกอย่าง
ที่เมืองตักกสิลา    สำเร็จแล้วก็กลับมา.      พระราชบุตรทรงเป็นอุปราช
ทรงเสวย  ทรงดื่ม  ประทับนั่ง  ประทับบรรทมอยู่ร่วมกับพระโพธิสัตว์
โดยสิ้นรัชกาลพระชนก     ก็เสวยราชย์แทน     พระราชทานยศสูงแก่
พระมหาสัตว์  ทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งปุโรหิต  วันหนึ่งรับสั่งให้เตรียม
พระนคร   แล้วทรงแต่งพระองค์เหมือนท้าวสักกเทวราช  ประทับนั่งบน
คอช้างต้นที่เมามัน     มีส่วนเปรียบด้วยช้างเอฬาวรรณที่ตบแต่ง     แล้ว
ทรงให้มหาสัตว์นั่งบนหลังช้าง  ณ  ที่นั่งด้านหลัง     ทรงทำปทักษิณ
พระนคร.     ฝ่ายสมเด็จพระราชชนนีประทับยืนที่ช่องพระแกล    ด้วย
พระดำริว่า      เราจักมองดูลูก      ทอดพระเนตรเห็นปุโรหิตนั่งอยู่เบื้อง
พระปฤษฎางค์ของพระราชานั้นผู้ทรงทำปทักษิณพระนครแล้วเสด็จมา
หน้า ๓๘๔