๓๘๕    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๘๗
พระราชชนนีให้เป็นอัครมเหสี    ส่วนพระองค์ทรงเป็นอุปราช.    เมื่อ
ทั้ง ๒ พระองค์นั้น   ทรงประทับอยู่สมัครสมานกัน  ในกาลต่อมาพระ-
โพธิสัตว์   ทรงระอาพระทัยในท่ามกลางเรือน   การครองเรือน    ทรง
ละกามทั้งหลาย  แล้วทรงมีพระทัยน้อมไปในการบรรพชา ไม่ทรงอาลัย
ไยดีถึงความยินดีด้วยอำนาจกิเลส   ประทับยืน  ประทับนั่ง  เสด็จบรรทม
แต่ลำพังพระองค์เดียวได้เป็นเสมือนถูกจองจำอยู่ที่เรือนจำ       และเป็น
เสมือนไก่ถูกขังไว้ในกรง.   ลำดับนั้น  พระมเหสีของพระองค์   ทรงดำริ
ว่า  พระราชาพระองค์นี้   ไม่ทรงอภิรมย์กับเรา  ประทับยืน  ประทับนั่ง
และทรงบรรทมแต่ลำพังพระองค์เดียว  แต่พระราชาพระองค์นี้   เป็นคน
หนุ่ม   ส่วนเราเป็นคนแก่ผมหงอกปรากฏบนศีรษะของเรา  ถ้ากะไรแล้ว
เราควรจะสร้างความเท็จขึ้นว่า     ข้าแต่สมมติเทพ      บนพระเศียรของ
พระองค์ปรากฏพระเกษาหงอก   ดังนี้    ให้พระราชาทรงยอมรับ   แล้ว
ทรงอภิรมย์กับเราด้วยอุบายนั้น   วันหนึ่ง   จึงทรงทำเป็นเสมือนหาเหา
บนพระเศียรของพระราชา  ทูลว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   พระองค์ทรง
ชราแล้ว        บนพระเศียรของพระองค์ปรากฏพระเกษาหงอกเส้นหนึ่ง
เพคะ.   พระราชาตรัสว่า   ข้าแต่นางผู้เจริญ   ถ้ากระนั้น  ขอเธอจงถอน
ผมหงอกเส้นนั้นมาวางไว้บนมือของฉัน.   พระนางจึงทรงถอนพระเกษา
เส้น  ๑ จากพระเศียรของพระราชาทิ้งมันไป      แล้วทรงหยิบเอาพระ-
เกษาหงอกเส้น  ๑  จากพระเศียรของตน  แล้ววางบนพระหัตถ์ของพระ-
ราชานั้น  โดยทูลว่า   ข้าแต่สมมติเทพ   นี้พระเกษาหงอกของพระองค์.
หน้า ๓๘๖