๓๘๖    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๘๘
พระเสโทไหลออกจากพระนลาฏ  ที่เสมือนกับแผ่นทองของพระโพธิสัตว์
ผู้ทรงสะดุ้ง     เพราะทรงเห็นพระเกษาหงอกเท่านั้น      แล้วก็ทรงกลัว.
พระองค์เมื่อทรงโอวาทตน   ทรงดำริว่า   ดูก่อนสุสีมะ   เจ้าเป็นคนหนุ่ม
แต่กลายเป็นคนแก่ไปแล้ว   เจ้าจมอยู่ในเปือกตม   คือกาม   เหมือนหมู
บ้านจมอยู่แล้วในเปือกตม   คือคูถ   ฉะนั้น   ไม่สามารถถอนตนขึ้นได้
บัดนี้เป็นเวลาของเจ้าที่จะละกามทั้งหลายเข้าสู่ป่าหิมพานต์บวช     แล้ว
ประพฤติพรหมจรรย์มิใช่หรือ ?  ดังนี้  แล้วจึงได้กล่าวคาถาที่  ๑ ว่า :-
                        เมื่อก่อนผมสีดำ    เกิดบนศีรษะของเจ้า
           ตามที่ของมันแล้ว    สุสีมะเจ้า    วันนี้เจ้าเห็น
           เส้นผมเหล่านั้นมีสีขาว  แล้วจงประพฤติธรรม
           เถิด    เวลานี้เป็นเวลาแห่งการประพฤติพรหม
           จรรย์แล้ว.
         บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ยถาปเทเส  ความว่า  พระโพธิสัตว์
ตรัสว่า    ก่อนแต่นี้   ผมทั้งหลายมีสีเหมือนแมลงภู่และดอกอัญชัญ ได้
เกิดแล้วบนศีรษะของเจ้า    ซึ่งเป็นถิ่นที่เหมาะแก่ผมทั้งหลายในที่นั้น ๆ
บทว่า    ธมฺมํ   จร   ความว่า   พระโพธิสัตว์ทรงบังคับตนเองว่า   เจ้าจง
ประพฤติธรรม  คือกุศลกรรมบถ  ๑๐.   บทว่า    พฺรหฺมจริยสฺส    มีเนื้อ
ความว่า เป็นเวลาแห่งเมถุนวิรัติของเจ้าแล้ว. เมื่อพระโพธิสัตว์พรรณนา
คุณการประพฤติพรหมจรรย์อย่างนี้แล้ว      พระราชินีทรงสะดุ้งพระทัย
หน้า ๓๘๗