๓๘๗    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๘๙
เพราะทรงกลัวว่า   เราตั้งใจว่าจะทำการมัดพระทัยพระราชาไว้  แต่กลาย
เป็นทำการสละไปเสีย     จึงทรงดำริว่า    เราจักสรรเสริญพระฉวีวรรณ
แห่งพระสรีระ     เพื่อต้องการไม่ให้พระราชาพระองค์นี้เสด็จออกผนวช
จึงได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาว่า :-
                        ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ   ผมหงอกของ
           หม่อมฉันเอง   ไม่ใช่ของพระองค์   ผมหงอก
           งอกขึ้นบนศีรษะ  บนกระหม่อมของหม่อมฉัน
           เอง   หม่อมฉันได้ทูลคำเท็จ   โดยตั้งใจว่า    จัก
           ทำประโยชน์ให้ตน        ขอพระองค์ทรงโปรด
           พระราชทานอภัยโทษหม่อมฉันสักครั้งหนึ่งเถิด
           เพคะ   ข้าแต่มหาราช   พระองค์ยังทรงหนุ่ม  มี
           พระโฉมน่าทัศนา   ยังทรงอยู่ในปฐมวัยเหมือน
           ตองกล้วยแรกผลิฉะนั้น     ข้าแต่พระทูลกระ-
           หม่อมจอมคน  ขอพระองค์ทรงเสวยราชสมบัติ
           ทรงดูแลหม่อมฉันเถิด    และอย่าทรงทะยานไป
           สู่การประพฤติพรหมจรรย์ที่ให้ผลตามกาลเวลา.
         บรรดาบทเหล่านั้น    บทว่า   มเมว  สีสํ  ความว่า  พระราชินี
ทรงแสดงว่า  ผมหงอกงอกขึ้นบนศีรษะของหม่อมฉันเอง. คำว่า อุตฺต-
หน้า ๓๘๘