มงฺคํ เป็นไวพจน์ของคำว่า สีสํ นั่นเอง. บทว่า อตฺถํ ความว่า |
หม่อมฉันทูลคำเท็จด้วยหวังว่า จักทำความเจริญแก่ตนเอง. บทว่าเอกา- |
ปราธํ ความว่า โทษผิดอย่างหนึ่งของข้าพระองค์นี้. บทว่า ปมุคฺคโต |
ความว่า เจริญขึ้นโดยปฐมวัย. บทว่า โหหิ ได้แก่ โหสิ เป็นผู้ |
อธิบายว่า ดำรงอยู่แล้วในปฐมวัย. ปาฐะว่า โหสิ เยว ก็ดี. บทว่า |
ยถา กลีโร ความว่า พระราชินีทรงชี้แจงว่า ตองกล้วยอ่อนมีผิวนวล |
ต้องลมอ่อนพัดโชยย่อมพริ้วงามฉันใด พระองค์ก็มีพระรูปโฉมฉันนั้น. |
ปาฐะว่า ปมุคฺคโต โหสิ ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้นก็มีเนื้อความว่า หน่อ |
ของไม้อ่อนแรกขึ้น น่าทัศนาฉันใด พระองค์ก็น่าทัศนาฉันนั้น. บทว่า |
มมญฺจ ปสฺส ความว่า ขอพระองค์จงทรงดูแลหม่อมฉันด้วยเถิด. |
อธิบายว่า โปรดอย่าทรงกระทำให้หม่อมฉันเป็นหม้ายไม่มีที่พึ่งเลย. |
บทว่า กาลิกํ ความว่า พระนางทูลว่า ธรรมดาการประพฤติพรหม- |
จรรย์ ที่ชื่อว่าให้ผลตามกาลเวลา เพราะจะให้ผลในอัตภาพที่ ๒ ที่ ๓ |
ส่วนราชสมบัติ ชื่อว่า ให้ผลไม่เลือกกาลเวลา เพราะอำนวยความสุข |
คือกามคุณในอัตภาพนี้ทีเดียว พระองค์นั้นอย่าทรงละราชสมบัติที่ให้ผล |
ไม่เลือกกาลเวลา แล้วทรงโลดแล่นไปตามการประพฤติพรหมจรรย์ที่ให้ |
ผลตามกาลเวลาเลย. |
พระโพธิสัตว์ ครั้นทรงสดับคำนั้น แล้วตรัสว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ |
เธอพูดถ้อยคำนั้นที่ควรเป็นไปได้ เพราะว่า เมื่อวัยของเราที่มีความ |
เปลี่ยนแปลงเป็นที่สุด ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ผมสีดำทั้งหลายเหล่านี้ |