๓๙๐    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๙๒
มีลำตัวได้สัดส่วนทรวดทรงดี.   บทว่า    กาลปฺปลฺลวาว     ปเวลฺลมานา
ความว่า อุปมาเหมือนหนึ่งว่า  เถากาลวัลลี  เถาหญ้านาง   ที่ขึ้นดี ๆ งาม ๆ
ในเวลายังเล็ก   ยังเป็นยอดอ่อนอยู่ทีเดียว  ต้องลมโชยเบา ๆ  ก็โอนเอน
ไปมาทางโน้นทางนี้ฉันใด    หญิงสาวนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน    เอนตัว
เข้าไปทำร้ายความสง่างามของหญิง.  บทว่า  ปโลภยนฺตีว    นเรสุ   คจฺฉติ
เป็นสัตตมีวิภัติลงในอรรถว่าใกล้.  หญิงสาวนั้นไปใกล้สำนักชายทั้งหลาย
เป็นเหมือนยั่วยวนชายเหล่านั้นอยู่.   บทว่า  ตเมน  ปสฺสามิ  ปเรน   นารึ
ความว่า    สมัยต่อมาเราเห็นหญิงคนนี้นั้นถึงความชรา  คือความ  สวยงาม
แห่งรูปที่หายไปแล้วหมดความสวยงาม.   พระโพธิสัตว์กล่าวถึงคุณของ
รูปด้วยคาถาที่  ๑  บัดนี้   เมื่อจะแสดงถึงโทษ  จึงได้กล่าวอย่างนี้.   บทว่า
อาสีติกํ    นาวุติกญฺจ    ชจฺจา    ความว่า    ๘๐  ปี   หรือ  ๙๐  ปี   แต่เกิดมา
บทว่า   โคปาณสีภคฺคสมํ      มีเนื้อความว่า      มีร่างกายคดค้อมเหมือน
กลอนเรือน   คือมีสรีระคดโค้งเหมือนกลอนเรือน   เดินหลังค่อมเหมือน
กับหาเก็บเงินกากณึกหนึ่งที่หายไป.    ก็ขึ้นชื่อว่า    หญิงที่พระโพธิสัตว์
เคยเห็นเมื่อเวลายังสาว  แล้วได้เห็นอีกในเวลาอายุ  ๙๐  ปี  ไม่มีก็จริงแล
แต่ว่า  คำนี้  ท่านกล่าวหมายเอาภาวะของหญิงที่เห็นได้ด้วยญาณ.
         พระมหาสัตว์     ครั้นทรงแสดงโทษของรูปด้วยคาถานี้     โดย
ประการอย่างนี้แล้ว   บัดนี้    เมื่อจะทรงประกาศความเบื่อหน่ายของตน
ในการครองเรือน   จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถาไว้ว่า :-
หน้า ๓๙๑