๓๙๑    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๙๓
                        เราครุ่นคิดถึงคุณและโทษของรูปนั้นอยู่
           นั่นเอง       จึงนอนอยู่กลางที่นอนแต่คนเดียว
           เราเมื่อพิจารณาเห็นว่า     ถึงเราก็จะเป็นอย่างนี้
           จึงไม่ยินดีในเรือน       เวลานี้เป็นเวลาแห่งการ
           ประพฤติพรหมจรรย์   ความยินดีของผู้อยู่ครอง
           เรือนนี้แหล         เป็นเหมือนเชือกผูกเหนี่ยวไว้
           ธีรชนตัดเชือกนี้ได้แล้ว    ไม่อาลัยใยดี     จะละ
           กามสุข  แล้วหลีกเว้นหนี.
         บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า โสหํ   ตัดบทเป็น  โส  อหํ  ความว่า
เรานั้น   บทว่า  ตเมวานุวิจินฺตยนฺโต   ความว่า  ครุ่นคิดถึงคุณและโทษ
ของรูปทั้งหลายนั้นนั่นเอง.   บทว่า  เอวํ   อิติ   เปกฺขมาโน   ความว่า
พิจารณาเห็นอยู่ว่า   หญิงนี้เปลี่ยนแปลงไปแล้วฉันใด   ถึงฉันก็เป็นฉัน
นั้น   คือจักถึงความชรา   มีสรีระคดค้อมลงไป.   บทว่า  เคเห  น  รเม
ความว่า  เราไม่ยินดีในเรือน.  บทว่า   พฺรหฺมจริยสฺส   กาโล   ความว่า
พระโพธิสัตว์ทรงแสดงว่า     ดูก่อนนางผู้เจริญ      เวลานี้เป็นเวลาการ
ประพฤติพรหมจรรย์ของเรา  เพราะฉะนั้น  เราจักออกบวช.     อักษร
ในคำว่า   รชฺชุ   วาลมฺพนี   เจสา   เป็นเพียงนิบาต   อธิบายว่า   สิ่งนี้
เป็นเสมือนเครื่องผูกเหนี่ยวไว้.    สิ่งนี้คืออะไร     คือความยินดีของผู้อยู่
ในเรือนใด. อธิบายว่า ความยินดีด้วยอำนาจของกามในอารมณ์ทั้งหลาย
หน้า ๓๙๒