๓๙๗    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๓๙๙
                        เราได้เอาพญานาคยาวตั้งพันวามาแล้ว
           ท่านทรงพญานาคนั้น     และเราอยู่ได้ไม่สั่น
           สะท้าน.  ดูก่อนโกฏสิมพลีเทพบุตร   ก็เพราะ
           เหตุอะไร ? ท่านเมื่อทรงนกตัวเล็ก ๆ นี้ ที่มีเนื้อ
           น้อยกว่าเรา  จึงกลัวตัวสั่นสะท้านไป.
         บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า   ทสสตพยามํ  ความว่า  ยาวพันวา
บทว่า อุรคมาทาย  อาคโต ความว่า   เราเอางูตัวใหญ่มา ณ ที่นี้อย่างนี้.
บทว่า   ตญฺจ     มญฺจ   ความว่า   ทั้งงูตัวใหญ่ทั้งฉัน.    บทว่า   ธารยํ
ได้แก่   ธารยมาโพ   คือทรงไว้อยู่.   บทว่า   พฺยถสิ   ความว่า   สั่นเทิ้ม
อยู่.     บทว่า   กิมตฺถํ   ความว่า     พญาครุฑถามว่า    ประโยชน์อะไร
คือเพราะเหตุอะไร ?     พญาครุฑเรียกเทพบุตรตามนามของต้นไม้ว่า
โกฏสิมพลี.   เพราะว่าต้นสิมพลี   คือต้นงิ้วต้นนั้น  ได้ชื่อว่า  โกฏสิมพลี
เพราะมีลำต้นและกิ่งก้านใหญ่  แม้เทพบุตรผู้สิงอยู่บนต้นโกฏสิมพลีนั้น
ก็ได้ชื่ออย่างนั้นเหมือนกัน.
         ลำดับนั้น       เทพบุตรเมื่อจะกล่าวถึงเหตุแห่งการสั่นสะท้านนั้น
จึงได้กล่าวคาถา ๔  คาถาว่า :-
                        ดูก่อนพญาครุฑ      ท่านมีเนื้อเป็นภัก-
           ษาหาร  นกตัวนี้มีผลไม้เป็นภักษาหาร  นกตัวนี้
หน้า ๓๙๘