๓๙๙    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๔๐๑
ก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน.     บทว่า   กริสฺสเร   ความว่า   ภายหลังครั้น
ปกคลุมอย่างนี้แล้ว    ก็จักทำเราไม่ให้เป็นต้นไม้เลย    คือจักทำลายโดย
ประการทั้งปวง.  บทว่า  รุกฺขาเส  ได้แก่ต้นไม้.  บทว่า   มูลิโน  ขนฺธิโน
ความว่า   ทั้งมีรากสมบูรณ์   ทั้งมีกิ่งสมบูรณ์.  คำว่า  ทุมา   เป็นคำที่เป็น
ไวพจน์ของคำว่า  รุกขานั่นเอง.  บทว่า  วีชมาหริตฺวา  ความว่า นำพืชผล
มาแล้ว     บทว่า   หตา   ความว่า    ต้นไม้ในป่านี้แม้ต้นอื่น ๆ    ที่ถูกให้
พินาศไปแล้วมีอยู่.   บทว่า   อชฺฌารูหา   หิ  วฑฺฒนฺติ   ความว่า    รุกข-
เทพบุตรแสดงว่า  เพราะว่า   ต้นไม้ทั้งหลายมีต้นนิโครธเป็นต้น   เป็น
ต้นไม้ขึ้นคลุมแล้วก็จักเติบโตเลยต้นไม้เจ้าป่า     แม้ต้นใหญ่ ๆ ต้นอื่น
ไป     ก็ในบทว่า   วนปฺปตึ     นี้มีปาฐะถึง  ๓  อย่างทีเดียวคือ   วเนปติ
วนสฺส   ปติ  วนปฺปติ.   รุกขเทพบุตรเรียกครุฑว่า  ราชา.
         ครุฑครั้นได้ฟังคำของรุกขเทวดาแล้ว จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-
                        ธีรชนควรระแวงภัยที่ควรระแวง      ควร
           ระวังภัยที่ยังไม่มาถึง    ธีรชนย่อมพิจารณาเห็น
           โลกทั้ง ๒  เพราะภัยในอนาคต.
         บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  อนาคตํ   ภยํ    ความว่า    ธีรชน
เมื่อเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น   ชื่อว่าระวังรักษาภัยที่เป็นไปในปัจจุบัน
บ้าง    ที่เป็นในภายภาคหน้า       คืออนาคตบ้างไว้.     และเมื่อไม่เข้าไป
คบหาบาปมิตร และคนที่เป็นคู่เวรกันก็ชื่อว่าระวังภัยที่ยังไม่มาถึง. ควร
หน้า ๔๐๐