๔๐๗    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๔๐๙
ด้วย.  บทว่า  วิภวํ  ได้แก่ความไม่เจริญเห็น  คือรู้แพะทั้งหลายที่ถึงความ
พินาศแล้ว.    บทว่า     กีโสจวิวณฺโณ     ความว่า    พราหมณ์ละทิ้งแพะ
ทั้งที่ให้น้ำนมเป็นต้น     แล้วสงเคราะห์ชะมดทั้งหลาย   เมื่อไม่เห็นสัตว์
ทั้ง  ๒ ชนิดนั้น  ก็เป็นผู้เสื่อมจากสัตว์ทั้ง  ๒  พวก ถูกความโศกครอบงำ
แล้วจึงได้เป็นคนซูบผอมและมีผิวพรรณซูบซีด. บทว่า  เอวํ  โย  สนฺนิรงฺ
กตฺวา    ความว่า    เมื่อเป็นอย่างนี้นั้นแหละ   ผู้ใดนำคนภายในของตน
ซึ่งเป็นคนเก่าแก่ออกไป   คือละทิ้งแล้วทำความรักใคร่คนที่มาใหม่  โดย
ไม่คำนึงถึงใคร ๆ อีกเลย      ผู้นั้นเป็นคนเดียวเช่นกับพระองค์ย่อมเศร้า
โศกมาก   เหมือนพราหมณ์ธูมการีที่ข้าพระองค์  ทูลแสดงถวายพระองค์
แล้วฉะนั้น.
         พระมหาสัตว์ ทูลพระราชาให้ทรงรู้สึกพระองค์อย่างนี้แล้ว. ฝ่าย
พระราชาทรงทำความรู้สึกพระองค์แล้ว     ทรงเลื่อมใสแล้วได้พระราช-
ทานทรัพย์จำนวนมากแก่พระโพธิสัตว์นั้น.   จำเดิมแต่นั้นมา   พระองค์
ก็ทรงทำการสงเคราะห์คนภายในอยู่เท่านั้น    ทรงบำเพ็ญบุญทั้งหลายมี
ทานเป็นต้นแล้ว  ได้ทรงเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในภายภาคหน้า.
         พระศาสดา  ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว  ทรงประชุม
ชาดกไว้ว่า    พระเจ้าโกรัพยะในครั้งนั้น  ได้แก่พระอานนท์    ในบัดนี้
พราหมณ์ธูมการี  ได้แก่ พระเจ้าปเสนทิโกศล   ส่วนวิธูรบัณฑิต  ได้แก่
เราตถาคต   ฉะนั้นแล.
                           จบ  อรรถกถาธูมการิชาดกที่  ๘
หน้า ๔๐๘