๔๑๐    ๕๙.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕    ๔๑๒
อรรถกถาชาครชาดกที่  ๙
         พระศาสดาเมื่อประทับอยู่   ณ   พระเชตวันวิหาร     ทรงปรารภ
อุบาสกคนใดคนหนึ่ง   แล้วตรัสเรื่องนี้    มีคำเริ่มต้นว่า   โกธ   ชาครตํ
สุตฺโต   ดังนี้.
         ความพิสดารว่า    อุบาสกคนนั้น    เป็นอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน
เดินทางกันดารไปกับพ่อค้าเกวียน.   นายกองเกวียน   คือหัวหน้าพ่อค้า
ปลาเกวียน  ๕๐๐  เล่มไว้  ณ  ที่แห่งหนึ่งในทางกันดารนั้น  เป็นสถานที่
หาน้ำได้สะดวก  จัดแจงเคี้ยวของกินแล้ว  ก็เข้าที่พักผ่อน.  คนเหล่านั้น
พากันนอน ณ ที่นั้น ๆ   แล้วก็หลับไป.    ส่วนอุบาสกตั้งใจเดินจงกรม
ที่ควงต้นไม้ต้นหนึ่ง   ใกล้ ๆ นายกองเกวียน.  ลำดับนั้น  พวกโจร ๕๐๐
คน  ผู้ต้องการจะปล้นพ่อค้านั้น  ได้พากันถืออาวุธนานาชนิดมายืนล้อม
พ่อค้านั้นไว้.    พวกเขาเห็นอุบาสกนั้นกำลังจงกรมอยู่   คิดว่า   พวกเรา
จักปล้นเวลาอุบาสกคนนี้หลับ แล้วได้พากันอยู่ ณ ที่นั้น ๆ.   ฝ่ายอุบาสก
ก็ได้จงกรมอยู่ตลอดราตรี ๓ ยามทีเดียว.     เวลาย่ำรุ่ง    พวกโจรพากัน
ทิ้งก้อนหินและไม้ค้อนเป็นต้น    ที่ถือมาแล้ว    พูดว่า    นายกองเกวียน
ผู้เจริญ      ท่านได้ชีวิตแล้วเกิดเป็นเจ้าของของสิ่งที่มีอยู่ของท่าน เพราะ
อาศัยบุรุษคนนี้ผู้ตื่นอยู่    เพราะความไม่ประมาท    ท่านควรทำสักการะ
บุรุษคนนี้   ดังนี้แล้ว  จึงหลีกหนีไป.  คนทั้งหลายลุกขึ้นตามเวลานั่นเอง
เห็นก้อนหินและไม้ค้อนเป็นต้น   ที่พวกโจรเหล่านั้นทิ้งไว้   แล้วพูดว่า
พวกเราได้ชีวิตเพราะอาศัยอุบาสกคนนี้  แล้วได้พากันทำสักการะอุบาสก.
หน้า ๔๑๑