บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโนมทสฺสิสุ ความว่า พระ- |
ปัจเจกพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี เพราะได้เห็นปัจเจก- |
โพธิญาณ ที่ไม่ต่ำช้า คือไม่ลามก. การทำสามีจิกรรม มีการอภิวาท |
การลุกขึ้นรับ และการทำอัญชลีเป็นต้นก็ดี การเห็นสมบัติในปัจจุบัน |
แล้วยังจิตให้เลื่อมใสในไทยธรรมที่เป็นของตน จะน้อยหรือมาก เลว |
หรือประณีตก็ตาม แล้วกำหนดคุณของปฏิคาหก ชำระเจตนาทั้ง ๓ ให้ |
สะอาด เชื่อผลของกรรม แล้วทำการบริจาคก็ดี ชื่อว่า ปาริจริยา |
การปรนนิบัติ. บทว่า พุทฺเธสุ ความว่า ในพระปัจเจกพุทธเจ้า |
ทั้งหลาย. บทว่า. อปฺปกา ความว่า ธรรมดาการปรนนิบัติที่จะย่อหย่อน |
หรือน้อยไม่มี. บทว่า สุกฺขาย ความว่า ไม่มียางเหนียว. บทว่า |
อโลณิกาย ความว่า เว้นจากน้ำอ้อย. อธิบายว่า ก้อนขนมกุมมาสนั้น |
ท่านกล่าวว่า อโลณิกา คือจืดชืด เพราะเขาทำสำเร็จรูปแล้ว โดยไม่ |
ผสมน้ำอ้อย. บทว่า กุมฺมาสปิณฑิยา ความว่า พระราชาตรัสอย่างนี้ |
หมายถึงขนมกุมมาสที่พระโพธิสัตว์ถือไป โดยรวมขนมกุมมาส ๔ ก้อน |
เข้าด้วยกันนั่นเอง. ทักขิณาทานที่ทายกกำหนดคุณของสมณะพราหมณ์ |
ทั้งหลาย ผู้มีคุณแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส ยังเจตนาทั้ง ๓ ของผู้มุ่งหวัง |
การเกิดผลให้ผ่องแผ้วแล้วจึงถวาย ชื่อว่า มีผลน้อยไม่มี มีแต่จะอำนวย. |
มหาสมบัติให้ในที่ที่เกิดแล้วเท่านั้น เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ จึงมีคำที่ |
ท่านกล่าวรับรองไว้ว่า :- |