บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนธญฺา ได้แก่ ทรัพย์มีแก้ว |
มุกดาเป็นต้น และธัญชาติ ๗ ชนิด. บทว่า ปวี จ เกวลา ได้แก่ |
แผ่นดินใหญ่นี้ทั้งสิ้นด้วย. พระราชาตรัสสำคัญหมายว่า แผ่นดินทั้งหมด |
ตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว. บทว่า ปสฺส ผลํ กุมฺมาส- |
ปิณฺฑิยา ความว่า พระราชาเมื่อทรงแสดงผลทานของพระองค์ด้วย |
พระองค์เอง จึงตรัสอย่างนี้. ได้ทราบมาว่า พระโพธิสัตว์ก็ดี พระ- |
สรรเพชญพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี ทรงทราบผลของทานอยู่. และเพราะ |
เหตุนั่นเอง พระศาสดา เมื่อตรัสพระสูตรในอิติวุตตกะ จึงตรัสว่า |
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สัตว์ทั้งหลายก็ควรรู้วิบากของ |
การแจกจ่ายทาน ดังที่เราตถาคตรู้ เพราะฉะนั้น คนทั้งหลายยังไม่ได้ |
ให้ ก็ไม่ควรบริโภค และไม่ควรให้ความตระหนี่ที่เป็นมลทินครอบงำ |
จิตใจของพวกเขาตั้งอยู่. ทั้งยังไม่ได้แจกจ่าย แม้จากคำข้าวคำสุดท้าย |
คำข้าวคำที่กินเสร็จของพวกเขาก็ไม่ควรบริโภค ถ้าพวกเขาพึงมีปฏิคา- |
หก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหลายไม่รู้วิบากของ |
การแจกจ่ายทานอย่างนี้ เหมือนที่เราตถาคตรู้ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย |
ยังไม่ให้ก็บริโภค และความตระหนี่ที่เป็นมลทิน ก็ครอบงำจิตใจพวก |
เขาตั้งอยู่. |
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ทรงมีปีติปราโมทย์เกิดขึ้นในวันฉัตรมงคล |
ของตน จึงทรงร้องเพลงพระราชอุทาน ด้วยคาถา ๒ คาถาเหล่านี้. |