ทวาร ๓ ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล. บทว่า ธมฺมชีวินี ความว่า เป็นผู้ |
เลี้ยงชีพ โดยไม่ทำการลวงผู้อื่นเป็นต้น แล้วประพฤติโดยธรรมโดย |
สม่ำเสมอ. บทว่า สีลวตี ความว่า หม่อมฉันเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระ |
มีคุณความดี. บทว่า อปาปทสฺสสนา ความว่า เป็นผู้พบเห็นสิ่งที่ดีงาม |
คือมีธรรมเป็นที่รัก. บทว่า อุทฺธตภตฺตํ ความว่า ภัตรส่วนที่หม่อมฉัน |
ได้ โดยยกขึ้น ด้วยสามารถแห่งส่วนที่ถึงแก่ตน. บทว่า ภิกขุโน |
ความว่า แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ทรงทำลายกิเลสแล้ว. บทว่า จิตฺตา |
สุมนา ความว่า เป็นผู้ดีใจ คือเกิดโสมนัสขึ้น เชื่อผลของกรรมอยู่. |
บทว่า ตสฺส กมฺมสฺส ความว่า แห่งกรรม คือการถวายภิกษาอย่าง |
เดียวนั้น. มีคำอธิบายว่า ข้าแต่มหาราช เมื่อก่อนหม่อมฉันเป็นทาสี |
ของตระกูลกุฎุมพีตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ในนครสาวัตถี ถือเอาภัตตาหาร |
ส่วนทีได้แล้วเดินออกไป เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง กำลังทรง |
ดำเนินไปบิณฑบาต ยังความยินดีของตนให้ห่อเหี่ยวลง ถึงพร้อม |
ด้วยคุณธรรม มีความสำรวมระวังเป็นต้น เชื่อผลของกรรมอยู่ จึงได้ |
ถวายภัตตาหารนั้น แก่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น. หม่อมฉันนั้น ดำรง |
อยู่จนตลอดอายุถึงแก่กรรมแล้ว ได้ถือกำเนิดในพระอุทรของพระมเหสี |
ของพระเจ้าโกศล ในนครสาวัตถีนั้น บัดนี้ กำลังบำเรอบาทของ |
พระองค์ เสวยสมบัติเห็นปานนี้ ผลกรรมของหม่อมฉันนั้น เป็นอย่างนี้ |
คือเช่นนี้. ในเรื่องนั้น เพื่อแสดงถึงความที่ทานที่บุคคลถวายแล้วแก่ |
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยคุณความดีว่ามีผลมาก ควรอ้างคาถามาให้พิสดาร |
มีอาทิว่า :- |