๔๔๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๔๔๙
 ฯลฯ   ธรรมสัญเจตนา   รูปตัณหา  ฯลฯ  ธรรมตัณหา   รูปวิตก  ฯลฯ
ธรรมวิตก   รูปวิจาร   ฯลฯ    ธรรมวิจาร    เป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดที่ธรรมวิจารนั้น       เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธรรม
วิจารนั้น   นี้ท่านกล่าวว่า   ทุกขสมุทัยอริยสัจ.
อรรถกถาสมุทยสัจนิทเทส
          ๘๓]พึงทราบวินิจฉัยในสมุทยสัจนิทเทสดังต่อไปนี้      บทว่า
ยายํ  ตณฺหา - ตัณหานี้ใด.  บทว่า  โปโนพฺภวิกา - ตัณหาอันให้เกิด
ในภพใหม่  การทำภพใหม่  ชื่อว่า  ปุนพฺภโว,  ชื่อว่า โปโนพฺภวิกา
เพราะอรรถว่า    สัตว์มีภพใหม่,  อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า   โปโนพฺภวิกา
เพราะอรรถว่า   ตัณหาให้ภพใหม่,  ตัณหาย่อมเป็นไปในภพใหม่,  ตัณหา
ให้เกิดภพบ่อย ๆ.    ตัณหานั้นให้ภพใหม่ก็มี     ไม่ให้ภพใหม่ก็มี.    ให้
เป็นไปในภพใหม่ก็มี  ไม่ให้เป็นไปในภพใหม่ก็มี,  เมื่อให้ปฏิสนธิแล้ว
ตัณหาทำให้ขันธ์แก่กล้าก็มี.  ตัณหานั้นแม้ทำความแก้กล้าก็ย่อมได้ชื่อว่า
โปโนพฺภวิกา.   ปาฐะว่า  โปนพฺภวิกา   บ้าง,  มีความเหมือนกัน.
           ชื่อว่า   นนฺทิราคสหคตา  -  สหรคตด้วยนันทิราคะ  เพราะอรรถ
ว่า   ตัณหาสหรคตด้วยนันทิราคะ กล่าวคือ  ความพอใจยิ่ง,  ท่านอธิบาย
ว่า   ตัณหาถึงความเป็นอันเดียวกันโดยใจความ   กับด้วยนันทิราคะ.
             บทว่า   ตตฺร   ตตฺราภินนฺทินี     อันเพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ
ความว่า    ตัณหายินดียิ่งในอารมณ์ที่อัตภาพเกิด,    หรือยินดีในอารมณ์
นั้น ๆ   มีรูปเป็นต้น    คือยินดียิ่งในรูป   เสียง   กลิ่น   รส   โผฏฐัพพะ
และธรรมารมณ์.    ปาฐะว่า   ตตฺร   ตตฺราภินนฺที   บ้าง   ความว่า  ให้
ยินดีในอารมณ์นั้น ๆ
             บทว่า   เสยฺยถีทํ     เป็นนิบาต    ความแห่งบทนั้นว่า   หากถาม
ว่า  ตัณหานั้นเป็นไฉน  ?
             บทว่า   กามตณฺหา  ได้แก่    ตัณหาในกาม,   บทนี้เป็นชื่อของ
ราคะอันเป็นไปในกามคุณ ๕.
             บทว่า    ภวตณฺหา   ได้แก่    ตัณหาในภพ.    บทนี้เป็นชื่อของ
ราคะสหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิอันเกิดขึ้นด้วยความปรารถนาในภพ    และ
ราคะในรูปภพ   อรูปภพ   และความใคร่ในฌาน.
             บทว่า   วิภวตณฺหาได้แก่   ตัณหาใน  วิภวะ   คือปราศจากภพ.
บทนี้เป็นชื่อของอุจเฉททิฏฐิ.
             บัดนี้     เพื่อแสดงถึงที่เกิดของตัณหานั้นโดยพิสดาร    พระเถระ
จึงกล่าวว่า   สา   โข   ปเนสา - ก็ตัณหานั้นแล   เป็นอาทิ.
             ในบทเหล่านั้น   บทว่า   อุปฺปชฺชติ   แปลว่า   ย่อมเกิด.