บทว่า นิวีสติ - ย่อมตั้งอยู่ คือ ตั้งอยู่ด้วยความเป็นไปบ่อย ๆ |
พึงทราบการเชื่อมความว่า ตัณหาเมื่อเกิด ย่อมเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ |
ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน. |
บทว่า ยํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ - สิ่งใดเป็นที่รักที่ยินดีในโลก |
คือ สิ่งใดมีสภาพน่ารักและมีสภาวะหวานฉ่ำในโลก. |
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า จกฺขุ โลเก ดังต่อไปนี้ สัตว์ |
ทั้งหลายยึดมั่นโดยความเป็นของเราในจักษุเป็นต้นในโลก ตั้งอยู่ในสิ่ง |
ที่ถึงพร้อม ย่อมสำคัญประสาท ๕ คือ จักษุ ของตนผ่องใสโดยการ |
ถือเอานิมิตในกระจกเป็นต้น ดุจสีหบัญชรทำด้วยแก้วมณีที่บุคคลยกขึ้น |
ในวิมานทอง. ย่อมสำคัญ โสตะ ดุจกล้องเงินและดุจสายสังวาล. |
ย่อมสำคัญ ฆานะ ที่เรียกกันว่า จมูกโด่งดุจเกลียวหรดาลที่บุคคลม้วน |
ตั้งไว้. ย่อมสำคัญ ชิวหา ให้รสหวานสนิทอ่อนนุ่มดุจผืนผ้ากัมพล |
สีแดง. ย่อมสำคัญ กาย ดุจต้นสาละอ่อนและดุจซุ้มประตูทอง. ย่อม |
สำคัญ มนะยิ่งใหญ่ไม่เหมือน มนะของคนอื่น. ย่อมสำคัญ รูป |
ดุจสีมีสีทองและดอกกรณิการ์เป็นต้น. ย่อมสำคัญ เสียง ดุจเสียงขัน |
ของนกการะเวก และดุเหว่าที่กำลังเพลิน และเสียงกังวานของขลุ่ย |
แก้วมณีที่เป่าเบาๆ ย่อมสำคัญอารมณ์มีกลิ่นเป็นต้น ที่เกิดแต่มุฏฐาน |
๔ ที่ตนได้แล้วว่า ใครเล่าจะมีอารมณ์เห็นปานนี้. |