ไปในผล. ส่วนพวกอัญญเดียรถีย์มีความประพฤติเยี่ยงสุนัข. พวกนั้น |
เมื่อจะดับทุกข์และเมื่อจะแสดงถึงการดับทุกข์ จึงดำเนินไปในผลแห่ง |
เทศนาของ ทุกขนิโรข นั้นด้วย อัตกิลมถามุโยค - การประกอบ |
ความเพียรโดยทำตนให้ลำบาก ไม่ดำเนินไปในเหตุ เพราะฉะนั้น |
พระศาสดาเมื่อจะทรงดำเนินไปในเหตุ จึงตรัสพระพุทธวจนะมีอาทิว่า |
โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย ดังนี้. แม้พระธรรมเสนาบดี ก็กล่าวตาม |
ลำดับที่พระศาสดาตรัสนั่นแล. |
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺสาเยว ตณฺหาย ความว่า แห่ง |
ตัณหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า โปโนพฺภวิกา - ตัณหาทำให้เกิด |
ภพใหม่ แล้วทรงจำแนกเป็นกามตัณหาเป็นต้น และทรงประกาศใน |
ภายหลังด้วยการเกิดและการตั้งอยู่. |
บทว่า อเสสวิราคนิโรโธ - การดับตัณหาด้วยความสำรอกโดย |
ไม่เหลือ ความว่า มรรคท่านกล่าวว่า วิราคะ - ความคลายกำหนัด |
ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า วิราคา - วิมุจฺจติ๑ - เพราะความคลาย |
กำหนัด จึงหลุดพ้น. การดับด้วยความคลายกำหนัด ชื่อว่า วิราค- |
นิโรธ. การดับด้วยคลายกำหนัดโดยไม่เหลือ โดยถอนอนุสัย ชื่อว่า |
อเสสวิราคนิโรธ. |
อีกอย่างหนึ่ง เพราะท่านกล่าวการละว่า วิราคะ ฉะนั้น |
พึงเห็นการประกอบในบทนี้อย่างนี้ว่า วิราโค อเสโส นิโรโธ การดับ |
|