ไม่มีเหลือ ชื่อว่า วิราคะ. แต่โดยอรรถ บททั้งหมดมีอาทิว่า อเสส- |
วิราคนิโรโธ นี้เป็นไวพจน์ของนิพพานนั่นแล. เพราะว่า โดยปรมัตถ์ |
ท่านกล่าว นิพพาน ว่า ทุกขนิโรธํ อริยสจฺจํ - ทุกขนิโรธเป็น |
อริยสัจ. |
เพราะตัณหาอาศัยนิพพานนั้น ย่อมคลายกำหนัดคือย่อมดับ |
โดยไม่มีเหลือ, ฉะนั้น นิพพานนั้นท่านจึงกล่าว ตสฺสาเยว ตณฺหาย |
อเสสฺราคนิโรโธ - การดับตัณหานั้น ด้วยความคลายกำหนัดโดยไม่ |
เหลือ. |
อนึ่ง ตัณหาอาศัยนิพพานย่อมสละ ย่อมสละคืน ย่อมพ้น |
ย่อมไม่ติด, ในนิพพานนี้ไม่มีความอาลัยแม้สักอย่างเดียวในความอาลัย |
ในกามคุณทั้งหลาย, เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวนิพพานว่า จาโค |
ปฏินิสฺสคฺโค มุตฺติ อนาลโย - ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น |
ความไม่อาลัย. |
เพราะนิพพานเป็นอย่างเดียวเท่านั้น, แต่ชื่อของนิพพานนั้น |
มีอยู่ไม่น้อย ด้วยสามารถเป็นปฏิปักษ์ต่อชื่อของสังขตธรรมทั้งปวง. |
คือมีอาทิว่า อเสสวิราโค - คลายกำหนัดโดยไม่มีเหลือ. |
อเสสนิโรโธ - ดับโดยไม่มีเหลือ. |
จาโค - ความสละ. |
ปฏินิสฺสคฺโค - ความสละคืน. |
มุตฺติ - ความหลุดพ้น. |