๔๕๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๔๕๗
                 อนุปายาสํ - ความไม่เหือดแห้งใจ.
                 อสงฺกิลิฏฺ€ํ - ความไม่เศร้าหมอง.
             บัดนี้     ท่านแสดงถึงความเกิดแห่งตัณหาแม้ที่ถึงความเป็นไป
ไม่ได้   ถูกตัดด้วยมรรคเพราะอาศัยนิพพานในวัตถุใด    เพื่อแสดงความ
ไม่มีในวัตถุนั้น   พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า   สา   ปเนสา   เป็นอาทิ.
             ในบทนั้น   มีความว่า    เหมือนบุรุษเห็นเถากระดอมและน้ำเต้า
เกิดในพื้นที่    จึงค้นหารากตั้งแต่ยอดแล้วตัดทิ้ง,     เถากระดอมและเถา
น้ำเต้านั้น      เหี่ยวแห้งไปโดยลำดับแล้วก็หมดไป,      แต่นั้นควรพูดว่า
กระดอมและน้ำเต้าในฟันที่นั้นก็หมดหายไป    ฉันใด    ตัณหาในจักษุ
เป็นต้นก็ดุจกระดอมและน้ำเต้าในพื้นที่นั้น   ฉันนั้น.   ตัณหานั้นถูกตัด
ด้วยอริยมรรคเสียแล้วก็ถึงความหมดสิ้นไป  เพราะอาศัยนิพพาน.  ครั้น
ตัณหาถึงความหมดไปอย่างนี้แล้วก็ไม่ปรากฏในวัตถุเหล่านั้น     ดุจกระ-
ดอมและน้ำเต้าในพื้นที่  ฉะนั้น.
             อนึ่ง   เหมือนอย่างว่า    ราชบุรุษนำโจรมาจากดงแล้วฆ่าที่ประตู
ทักษิณของนคร       แต่นั้นควรกล่าวได้ว่า     โจรตายเสียแล้วหรือถูกฆ่า
ตายเสียแล้วในดง   ฉันใด     ตัณหาในจักษุเป็นต้น    ดุจโจรในดง    ฉัน
นั้น,    ตัณหานั้นดับไปแล้วในนิพพาน  เพราะอาศัยนิพพานจึงได้ดับไป
ดุจโจรที่ประตูทักษิณ.    ตัณหาดับไปอย่างนี้   ไม่ปรากฏในวัตถุเหล่านั้น
ดุจโจรในดง,    ด้วยเหตุนั้นพระสารีบุตร   เมื่อจะแสดงถึงความดับตัณหา
นั้นในจักษุเป็นต้นนั้น  จึงกล่าวคำมีอาทิว่า  จกฺขุํ   โลเก  ปิยรูปํ  สาตรูปํ
เอตฺเถสา ตณฺหา  ปหียมานา  ปหียติ - จักษุเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก
ตัณหานี้    เมื่อละย่อมละได้ในจักษุนี้.
           อีกอย่างหนึ่ง    ท่านกล่าวว่า     เพราะกำหนดรู้วัตถุที่ตัณหาเกิด
ตัณหาจึงดับไปในวัตถุที่ตัณหาเกิดด้วยดับไปโดยไม่ให้เกิด  เพราะไม่เกิด
อีกต่อไปในวัตถุที่กำหนดรู้.   อนึ่ง   ในบทนี้    ท่านกล่าวว่า    ตัณหาย่อม
ละได้ด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อความเกิด   ย่อมดับไปด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อความ
ตั้งอยู่  ดังนั้น.
                               จบ   อรรถกถานิโรธสัจนิทเทส
มัคคสัจนิทเทส
           [๘๕]ในจตุรอริยสัจนั้น      ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เป็นไฉน   อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล   คือ   สัมมาทิฏฐิ... สัมมาสมาธิ.
           ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น  สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน  ความรู้ในทุกข์
ความรู้ในทุกขมุทัย   ความรู้ในทุกขนิโรธ    ความรู้ในทุกขนิโรธคา-
มินีปฏิปทา  นี้ท่านกล่าวว่า  สัมมาทิฏฐิ.
          ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น   สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน  ความดำริ
ในความออกจากกาม   ความดำริในความไม่พยาบาท  ความดำริในความ
ไม่เบียดเบียน   นี้ท่านกล่าวว่า   สัมมาสังกัปปะ.