อาชีวะ มีการให้ผ่องแผ้วเป็นลักษณะ. สัมมาวายามะ มีการประคอง |
ไว้เป็นลักษณะ. สัมมาสติ มีการเข้าไปตั้งมั่นเป็นลักษณะ. สัมมา- |
สมาธิ มีการตั้งไว้เสมอเป็นลักษณะ. |
ในมรรคเหล่านั้น มรรคหนึ่ง ๆ ย่อมมีกิจอย่างละ ๓. คือ |
สัมมาทิฏฐิ ย่อมละมิจฉาทิฏฐิกับกิเลสที่เป็นข้าศึกของตน แม้เหล่าอื่น |
ก่อน, ทำนิโรธให้เป็นอารมณ์, และเห็นสัมปยุตธรรม เพราะไม่หลง |
ด้วยสามารถกำจัดโมหะอันปกปิดสัมปยุตธรรมทั้งหลายได้. แม้สัมมาสัง- |
กัปปะเป็นต้น ก็ละมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น ได้เช่นเดียวกัน, เละทำ |
นิพพานให้เป็นอารมณ์. แต่โดยแปลกกันในบทนี้ สัมมาสังกัปปะ ยก |
ขึ้นสู่สหชาตธรรมโดยชอบ สัมมาวาจา กำหนดเอาโดยชอบ. สัมมา- |
กัมมันตะ ให้ตั้งขึ้นโดยชอบ, สัมมาอาชีวะ ให้ผ่องแผ้วโดยชอบ, |
สัมมาวายามะ ประคองไว้โดยชอบ, สัมมาสติ ให้เข้าไปตั้งไว้โดย |
ชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งมั่นไว้โดยชอบ. |
อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐินี้ในส่วนเบื้องต้น มีขณะต่างกัน มี |
อารมณ์ต่างกัน, ในกาลแห่งมรรคมีขณะอย่างเดียวกัน, มีอารมณ์อย่าง |
เดียวกัน. แต่โดยกิจย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง มีอาทิว่า ทุกฺเข าณํ - ความ |
รู้ในทุกข์. แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ในส่วนเบื้องต้นก็มีขณะต่างกัน |
มีอารมณ์ต่างกัน, ในกาลแห่งมรรคมีขณะอย่างเดียวกัน มีอารมณ์ |
อย่างเดียวกัน. ในมรรคเหล่านั้น สัมมาสังกัปปะโดยกิจย่อมได้ชื่อ ๓. |