๔๖๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๔๖๕
ไม่บริบูรณ์แก่ผู้บำเพ็ญนอกไปจากนี้   ฉะนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
สัมมาอาชีวะไว้ในลำดับต่อจากทั้งสองนั้น.
            อันผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ไม่ควรทำความยินดีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า
อาชีวะของเราบริสุทธิ์   แล้วอยู่ด้วยความหลับและความประมาทอย่างนี้,
ที่แท้ควรปรารภความเพียรนี้ในทุกอิริยาบถ       พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ
ทรงแสดงด้วยประการฉะนี้  จึงตรัสสัมมาวายามะไว้ในลำดับต่อจากนั้น.
           จากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงว่า     อันผู้ปรารภความ
เพียรควรทำความตั้งสติมั่นในวัตถุ ๔ อย่างมีกายเป็นต้น   จึงตรัสสัมมา-
สติไว้ในลำดับต่อจากนั้น.
            เพราะเมื่อสติตั้งมั่นดีอย่างนี้แล้ว       จิตแสวงหาคติแห่งธรรมที่
เกื้อกูลและไม่เกื้อกูลแก่สมาธิ     ย่อมเพียงพอเพื่อตั้งมั่นในอารมณ์   คือ
ความเป็นอันเดียว  ฉะนั้น  พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัมมา-
สมาธิในลำดับต่อจากสัมมาสติ.
           พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาทิฏฐินิทเทสดังต่อไปนี้   พระสารีบุตร
แสดงจตุสัจกรรมฐานด้วยมีอาทิว่า    ทุกฺเข   าณํ   ดังนี้.
           บรรดาสัจจะ ๔ เหล่านั้น สัจจะ ๒ ข้างต้นเป็นวัฏฏะ,   ๒ ข้าง-
หลังเป็นวิวัฏฏะ.      ในสัจจะเหล่านั้น    ความยึดมั่นกรรมฐานในวัฏฏะ
ย่อมมีแก่ภิกษุ  ความยึดมั่นในวิวัฏฏะย่อมไม่มี.       เพราะพระโยคาวจร
เรียนสัจจะ  ๒  ข้างต้นในสำนักอาจารย์โดยสังเขปอย่างนี้ว่า      ปญฺจกฺ-
ขนฺธา  ทุกฺขํ,  ตณฺหา  สมุทโย - ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์  ตัณหาเป็นเหตุ
ให้เกิดทุกข์,   เละโดยพิสดารว่า   กตเม   ปญฺจกฺขนฺขฺธา,   รูปกฺขนฺโธ
ขันธ์  ๕  เป็นไฉน,   คือ  รูปขันธ์เป็นต้น     แล้วท่องกลับไปมาบ่อย ๆ
ด้วยวาจา  ย่อมทำกรรม.   ส่วนในสัจจะ ๒  นอกนี้พระโยคาวจรทำกรรม
ด้วยการฟังเท่านั้นอย่างนี้ว่า   นิโรธสจฺจํ  อิฏฺ€ํ   กนฺตํ  มนาปํ,  มคฺค-
สจฺจํ   อิฏฺฐํ   กนฺตํ   มนาปํ - นิโรธสัจ  น่าใคร่  นำปรารถนา  น่าชอบ
ใจ   มรรคสัจ   น่าใคร่   น่าปรารถนา   น่าชอบใจ.    พระโยคาวจรนั้น
เมื่อทำกรรมอย่างนี้   ย่อมแทงตลอดสัจจะ  ๔ โดยการแทงตลอดครั้งเดียว
ย่อมตรัสรู้โดยการตรัสรู้ครั้งเดียวเหมือนกัน.    ย่อมแทงตลอดทุกข์โดย
การแทงตลอดด้วยปริญญา   ย่อมแทงตลอดสมุทัยโดยการแทงตลอดด้วย
ปหานะ    ย่อมแทงตลอดนิโรธโดยการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา.    ย่อม
แทงตลอดมรรคโดยการแทงตลอดด้วยภาวนา.   ย่อมตรัสรู้ทุกข์โดยการ
ตรัสรู้ด้วยปริญญา   ฯลฯ   ย่อมตรัสรู้มรรคโดยการตรัสรู้ด้วยภาวนา.
            การแทงตลอดด้วยการเรียน    การสอบถาม   การฟัง   การทรงไว้
และการพิจารณาในสัจจะ ๒ ในส่วนเบื้องต้น   ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น,   ใน
สัจจะ  ๒ ย่อมมีการแทงตลอดด้วยการฟังอย่างเดียว.    ในส่วนอื่นย่อมมี
การแทงตลอดโดยกิจในสัจจะ  ๓      ย่อมมีการแทงตลอดโดยอารมณ์ใน
นิโรธ.     ในสัจจะเหล่านั้น    ความรู้ด้วยการแทงตลอดแม้ทั้งหมดเป็น
โลกุตระ,   ความรู้ด้วยการฟัง  การทรงไว้   และการพิจารณาเป็นโลกิย-