ทุกข์ โดยการตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้, ย่อมตรัสรู้ สมุทัย โดยการตรัสรู้ |
ด้วยการละ, ย่อมตรัสรู้ นิโรธ โดยการตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง, ย่อม |
ตรัสรู้ มรรค โดยการตรัสรู้ด้วยการเจริญ นี้ชื่อว่า อภิสมยญาณ. |
พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาสังกัปปนิทเทสดังต่อไปนี้ ชื่อว่า เนก- |
ขัมมสังกัปโป เพราะอรรถว่าออกไปจาก กาม. |
ชื่อว่า อัพยาปาทสังกัปโป เพราะอรรถว่าออกไปจาก พยา- |
บาท. ชื่อว่า อวิหิงสาสังกัปโป เพราะอรรถว่าออกไปจาก วิหิงสา. |
ในวิตกเหล่านั้น เนกขัมมวิตก ทำการทำลายเหตุ ตัดเหตุ |
ของ กามวิตก เกิดขึ้น, อัพยาปาทวิตก ทำการทำลายเหตุ ตัดเหตุของ |
พยาปาทวิตก เกิดขึ้น, อวิหิงสาวิตก ทำการทำลายเหตุ ตัดเหตุของ |
วิหิงสาวิตก เกิดขึ้น อนึ่ง เนกขัมมวิตก อัพยาปาทวิตก อวิหิงสา- |
วิตก เป็นข้าศึกของกามวิตก พยาปาทวิตก และวิหิงสาวิตกเกิดขึ้น. |
ในวิตกเหล่านั้น พระโยคาวจร ย่อมพิจารณากามวิตกหรือ |
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่งอื่น เพื่อทำลายเหตุแห่งกามวิตก. อนึ่ง ความ |
ดำริสัมปยุตด้วยวิปัสสนา ในขณะแห่งวิปัสสนาของพระโยคาวจรนั้น |
ทำการทำลายเหตุ ตัดเหตุของกามวิตกด้วยสามารถตทังคะ - ชั่วขณะ |
นั้นเกิดขึ้น, พระโยคาวจรขวนขวายวิปัสสนาแล้วบรรลุมรรค. อนึ่ง |
ความดำริสัมปยุตด้วยมรรคในขณะแห่งมรรคของพระโยคาวจรนั้น ทำ |
การทำลายเหตุ ตัดเหตุของกามวิตกด้วยสามารถสมุจเฉท - การตัดขาด |