บทว่า อนุปฺปนฺนานํ ได้แก่ ยังไม่เกิด. บทว่า ปาปกานํ |
ได้แก่ ลามก. บทว่า อกุสลานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมที่เป็นอกุศล. |
บทว่า อนุปฺปาทาย ได้แก่ เพื่อไม่ให้เกิดขึ้น. |
บทว่า ฉนฺทํ ชเนติ - ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น ได้แก่ ยัง |
ฉันทะในกุศล กล่าวคือความเป็นผู้ใคร่ทำให้เกิด คือ ให้เกิดขึ้น. บทว่า |
วายมติ-ย่อมพยายาม ได้แก่ ยังความเพียรให้เกิด คือ ทำความเพียร. |
บทว่า วีริยํ อารภติ- ปรารภความเพียร ได้แก่ ทำความเพียรทาง . |
กายและทางจิต. บทว่า จิตฺตํ ปคฺคณหาติ - ประคองจิต ได้แก่ |
ยกจิตขึ้นด้วยความเพียรอันรวมกันนั้นนั่นเอง. บทว่า ปทหติ - ตั้ง |
จิตไว้ ได้แก่ ทำความเพียรเป็นที่ตั้ง. พึงประกอบบท ๔ บทเหล่านี้ |
ด้วย อาเสวนา- การเสพ ภาวนา- การเจริญ พหุลีกรรม-การ |
ทำให้มาก สาตัจจกิริยา-การทำติดต่อ ตามลำดับไป. |
บทว่า อุปฺปนฺนานํ-ที่เกิดขึ้นแล้ว ได้แก่ ถึงความไม่ควรจะ |
กล่าวว่า อนุปฺปนฺานํ - ที่ยังไม่เกิด. บทว่า ปหานาย ได้แก่ |
เพื่อละ, บทว่า อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ธมฺมานํได้แก่ กุศลธรรม |
ที่ยังไม่เกิด. |
บทว่า อุปฺปาทาย ได้แก่ เพื่อให้เกิดขึ้น. บทว่า อุปฺปนฺนานํ |
ได้แก่ ที่เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า ิติยา ได้แก่ เพื่อความตั้งมั่น. บทว่า |
อสมฺโมสาย - เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน ได้แก่ เพื่อความไม่ฉิบหาย. |