๔๗๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๔๗๗
ย่อมไม่ได้โอกาส.    แต่ภายหลังเมื่อภิกษุนั้นเลิกบำเพ็ญวิปัสสนามากไป
ด้วยการยึดมั่นกายกิเลสทั้งหลายอาศัยความไม่ใส่ใจ       ความปล่อยสติ
ย่อมเกิดขึ้น.  แม้ด้วยประการฉะนี้  กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิด  ด้วยยังไม่
ปรากฏ  ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น.
           ภิกษุบางรูปเป็นนวกัมมิกะ,   ทำการก่อสร้างโรงอุโบสถและหอ-
ฉันเป็นต้น,   เมื่อภิกษุนั้นคิดถึงอุปกรณ์การก่อสร้างโรงอุโบสถและหอ-
ฉันเหล่านั้นอยู่ กิเลสทั้งหลายยังไม่ได้โอกาส.  แต่ภายหลังเมื่อนวกรรม
ของภิกษุนั้นสำเร็จแล้วหรือทอดทิ้งเสีย      กิเลสทั้งหลายอาศัยความไม่
ใส่ใจ   ความปล่อยสติ    ย่อมเกิดขึ้น.     แม้ด้วยประการฉะนี้   กิเลส
ทั้งหลายที่ยังไม่เกิด    ด้วยยังไม่ปรากฏ   ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น.
          ภิกษุบางรูปมาจากพรหมโลก  เป็นสัตว์บริสุทธิ์,     กิเลสทั้งหลาย
ย่อมไม่ได้โอกาสด้วยการไม่ซ่องเสพของภิกษุนั้น,   แต่ภายหลังเมื่อภิกษุ
นั้นซ่องเสพสิ่งที่ได้มา กิเลสทั้งหลายอาศัยความไม่ใส่ใจ ความปล่อยสติ
ย่อมเกิดขึ้น.   แม้ด้วยประการฉะนี้กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิด   ด้วยยังไม่
ปรากฏ   ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น.   พึงทราบความที่กิเลสยังไม่เกิด    ด้วยยังไม่
ปรากฏอย่างนี้.
           กิเลสยังไม่เกิดด้วยอารมณ์ที่ไม่เคยเกิดเป็นอย่างไร ?     ภิกษุบาง
รูปในศาสนาได้อารมณ์ที่น่าพอใจเป็นต้น  ซึ่งไม่เคยเกิดมาก่อน,   กิเลส
ทั้งหลายมีราคะเป็นต้น  อาศัยความไม่ใส่ใจ ความปล่อยสติของภิกษุนั้น
ย่อมเกิดขึ้น,    ด้วยประการฉะนี้   กิเลสที่ยังไม่เกิดด้วยอารมณ์ที่ไม่เคย
เกิด   ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น   เมื่อมีอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นอย่างนี้     ภิกษุ
เห็นความฉิบหายของตน    ย่อมเจริญสัมมัปธานข้อต้นด้วยเจริญสติปัฏ-
ฐาน   เพื่อความไม่เกิดแห่งอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเหล่านั้น,   เมื่ออกุศล-
ธรรมเหล่านั้นเกิด.   ภิกษุเห็นความฉิบหายของตน   เพราะไม่ละอกุศล-
ธรรมเหล่านั้น    แล้วจึงเจริญสัมมัปธานข้อที่สอง     เพื่อละอกุศลธรรม
เหล่านั้น.
          บทว่า   อนุปฺปนฺนา   กุสลา   ธมฺมฺา  -  กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
ได้แก่   สมถวิปัสสนาและมรรค.  ภิกษุเห็นความฉิบหายของตนในเพราะ
กุศลธรรมเหล่านั้นที่ยังไม่เกิด  แล้วจึงเจริญสัมมัปธานข้อที่สาม  เพื่อให้
กุศลธรรมเหล่านั้นเกิด.
           บทว่า  อุปฺปนฺนา  กุสลา  ธมฺมา - กุศลธรรมที่เกิดแล้ว ได้แก่
สมถวิปัสสนานั่นเอง.  ส่วนมรรคเกิดครั้งเดียวแล้วดับ   จะไม่เป็นไป
เพื่อความฉิบหายเลย.  เพราะมรรคนั้นให้ปัจจัยแก่ผลแล้วก็ดับไป.  ภิกษุ
ครั้นเห็นความฉิบหายของตน   เพราะสมถะและวิปัสสนาเหล่านั้นดับไป
จึงเจริญสัมมัปธานข้อที่สี่    เพื่อความตั้งมั่นแห่งสมถะและวิปัสสนาเหล่า
นั้น.  ในขณะแห่งโลกุตรมรรค    ย่อมเจริญวิริยะอย่างเดียวเท่านั้น.