เพราะวิบากอันเป็นโอกาสที่ตนทำไว้แล้วอย่างนั้น แม้ยังไม่เกิดก็จะเกิด |
ขึ้นโดยส่วนเดียวในโอกาสที่ตนทำไว้อย่างนั้น |
อกุศลที่ยังไม่ถอนในภูมิ ๓ นั้น ๆ ชื่อว่า ภูมิลทฺธุปฺปนฺนํ. |
อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบความต่างกันของ ภูมิ และ ภูมิลัทธะ |
- ภูมิอันได้แล้ว จริงอยู่ขันธ์ ๕ อันเป็นไปในภูมิ ๓ เป็นอารมณ์แห่ง |
วิปัสสนา ชื่อว่า ภูมิ กิเลสชาตอันควรเกิดในขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่า |
ภูมิลัทธะ, เพราะเหตุที่กิเลสนั้นได้ภูมิ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ภูมิ- |
ลัทธะ, ภูมินั้นไม่ได้ด้วยอารมณ์. จริงอยู่กิเลสทั้งหลายปรารภขันธ์ แม้ |
ทั้งหมดทั้งในอดีต อนาคต และแม้ที่พระขีณาสพกำหนดรู้แล้ว ย่อม |
เกิดขึ้นด้วยอารมณ์. ผิว่าอารมณ์จะพึงชื่อว่า ภูมิลัทธะ แล้ว ใคร ๆ ก็ |
จะพึงละมูลรากของภพไม่ได้ เพราะละ ภูมิลัทธะ นั้นยังไม่ได้. อนึ่ง |
พึงทราบ ภูมิลัทธะ ด้วยสามารถวัตถุ จริงอยู่ขันธ์ที่กำหนดรู้ไม่ได้ |
ด้วยวิปัสสนาใน ภูมิลัทธะ ใด ๆ, กิเลสชาตอันเป็นมูลของวัฏฏะจำเดิม |
แต่ใน ภูมิลัทธะ นั้น ย่อมนอนเนื่องอยู่ในขันธ์เหล่านั้น. พึงทราบ |
ว่า กิเลสชาต นั้น ชื่อว่า ภูมิลัทธะ ด้วยอรรถว่ายังละไม่ได้. |
อนึ่ง ในบทนั้นมีความว่า ขันธ์ทั้งหลายของผู้ที่มีกิเลสนอน- |
เนื่องอยู่ด้วยอรรถว่ายังละไม่ได้ เป็นที่ตั้งแห่งกิเลสเหล่านั้น. ขันธ์ |
ทั้งหลายมิใช่ของคนอื่น อนึ่ง ขันธ์ในอดีตเป็นที่ตั้งของกิเลสที่ยังละ |
ไม่ได้และนอนเนื่องอยู่ในขันธ์ในอดีต. ขันธ์นอกนี้ไม่เป็นที่ตั้ง ขันธ์ |