๔๘๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๔๘๑
ในอนาคตเป็นต้น  ก็มีนัยนี้.   อนึ่ง  กามาวจรขันธ์นั่นแลเป็นที่ตั้งของ
กิเลสที่ยังละไม่ได้และนอนเนื่องอยู่ในกามาวจรขันธ์,     ขันธ์นอกนี้ไม่
เป็นที่ตั้ง.  ในรูปาวจรขันธ์และอรูปาวจรขันธ์ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.  อนึ่ง
ในโสดาบันเป็นต้น    กิเลสใดอันเป็นมูลของวัฏฏะนั้น ๆ ในขันธ์
พระอริยบุคคลใด ๆ    ละได้ด้วยมรรคนั้น ๆ,    ขันธ์เหล่านั้นของพระ-
อริยบุคคลนั้น ๆ ไม่นับว่าเป็น  ภูมิ  เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งกิเลสอันเป็น
มูลของวัฏฏะเหล่านั้นซึ่งละได้แล้ว.   กุศลกรร หรืออกุศลกรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งที่บุคคลทำ   ย่อมมีแก่ปุถุชนโดยประการทั้งปวง   เพราะยังละ
กิเลสอันเป็นมูลแห่งวัฏฏะยังไม่ได้,  วัฏฏะอันเป็นปัจจัยของกรรมกิเลส
ย่อมควรแก่ผู้นั้นด้วยประการฉะนี้,  ธรรมนั้นของบุคคลนั้น ๆ  เป็นมูล
ของวัฏฏะในรูปขันธ์นั่นเอง,   ไม่ใช่ในเวทนาขันธ์เป็นต้น.    หรือใน
วิญญาณขันธ์เท่านั้น.  ไม่ควรกล่าวว่า  ไม่ใช่ในรูปขันธ์เป็นต้น.
           เพราะเหตุไร ? เพราะกิเลสนอนเนื่องอยู่ในขันธ์แม้ทั้ง ๕  โดยไม่
แปลกกัน.   อย่างไร ?  เหมือนรสดิน (ป€วีรสํ) เป็นต้น    อยู่ในต้นไม้.
เหมือนอย่างว่า   เมื่อต้นไม้ใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นดิน   อาศัยรสดินและรสน้ำ
(อาโปรสํ)    งอกงามด้วยราก ลำต้น กิ่งน้อยใหญ่  ใบอ่อน ใบแก่   ดอก
และผล   เพราะรสดิน  รสน้ำนั้น  เต็มฟ้า  จนสิ้นกัป  สืบเชื้อสายของต้น
ไม้ด้วยการผลิตพืชต่อ ๆ  กันมาดำรงอยู่,  พืชไม้นั้นตั้งอยู่ที่รากมีรากดิน
เป็นต้นเท่านั้น,   ไม่ใช่ที่ลำต้นเป็นต้น,    หรือในผลเท่านั้น,   ไม่ควร
กล่าวว่า  ไม่ใช่ที่รากเป็นต้น.
            เพราะเหตุไร  ?  เพราะอาศัยอยู่ในรากเป็นต้นทั้งหมด.  เหมือน
อย่างว่า  บุรุษคนหนึ่ง   ไม่พอใจดอกไม้และผลไม้เป็นต้นของต้นไม้นั้น
จึงทิ่มหนามพิษ    ชื่อว่ามัณฑูกกัณฏกะ - หนามกระเบน  ลงไปใน  ๔
ทิศ   ครั้นต้นไม้นั้นถูกหนามพิษนั้นเข้าไม่สามารถจะสืบต่อไปได้อีก โดย
ไม่ผลิดอกออกผลได้ตามธรรมดา   เพราะรสดินรสน้ำถูกควบคุมเสียแล้ว
ฉันใด,    กุลบุตรผู้เบื่อหน่ายในความเป็นไปของขันธ์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เริ่มเจริญมรรค ๔ ในสันดานของตน  ดุจบุรุษนั้นประกอบหนามพิษลง
ในต้นไม้ใน  ๔  ทิศ  ฉะนั้น.
          เมื่อเป็นเช่นนั้นขันธสันดานของกุลบุตรนั้น   ถูกสัมผัสด้วยพิษ
คือ  มรรค  ๔ นั้นกระทบแล้ว  เป็นประเภทของกรรมทั้งปวงมีกายกรรม
เป็นต้น   เข้าถึงเพียงสภาวะของกิริยา   เพราะกิเลสอันเป็นมูลของวัฏฏะ
ถูกครอบงำไว้โดยประการทั้งปวง  ไม่สามารถจะสืบสันดานในภพอื่นได้
หมดความยึดถือดับวิญญาณดวงสุดท้ายสิ้นเชิง     ดุจไฟไม่มีเชื้อฉะนั้น.
พึงทราบความต่างกันของ  ภูมิ  และ  ภูมิลัทธะ   อย่างนี้.
            อุปปันนะ  คือ   ธรรมที่เกิด  ๔ อย่าง  อีกอย่างหนึ่ง   คือ
            สมุทาจารุปฺปนินํ -  สิ่งเกิดขึ้นกำลังเป็นไปอยู่ ๑
            อารมฺมณาธิคฺคหิตุปฺปนฺนํ  -  เกิดด้วยการ  ถืออารมณ์  ๑