๔๘๒    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๔๘๓
             อวิกฺขมฺภตุปฺปนฺนํ - เกิดด้วยการไม่ข่ม ๑
             อสมูหตุปฺปนฺนํ  -  เกิดด้วยการไม่ถอน ๑.
             ในบทอุปปันนะเหล่านั้น    สิ่งที่เกิดขึ้นกำลังเป็นไปอยู่    ชื่อว่า
สมุทาจารุปฺปนฺนํ.     กิเลสชาตแม้ยังไม่เกิดในส่วนเบื้องต้นในอารมณ์
อันไปสู่คลองแห่งจักษุเป็นต้น ท่านกล่าวว่า อารมฺมณาธิคฺคหิตุปฺปนฺนํ
โดยเกิดขึ้น  โดยส่วนเดียวในกาลอื่น    เพราะถือเอาอารมณ์.      กิเลส
ชาตไม่ข่มไว้ด้วยสมถะและวิปัสสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง   แม้ไม่เจริญด้วย
การสืบของจิต   ก็ชื่อว่า  อวิกฺขมฺภิตุปฺปนฺนํ    เพราะไม่มีเหตุที่จะห้าม
การเกิดได้.   กิเลสชาต  แม้ข่มไว้ด้วยสมถะและจะวิปัสสนา  ท่านก็กล่าวว่า
อสมูหตุปฺปนฺนํ      เพราะไม่ถอนด้วยอริยมรรค     เพราะไม่ล่วงเลย
ธรรมดาของความเกิด.
             พึงทราบว่า  อารมฺมณาธิคฺคหิตุปฺปนฺนํ  อวิกฺขมฺภิตุปฺปนฺนํ
อสฺมูหตุปฺปนฺนํ   ทั้งสามนี้   ย่อมสงเคราะห์ลงด้วย  ภูมิลัทธะ   นั่นเอง.
             เมื่ออุปปันนธรรมมีประเภทดังกล่าวแล้วนี้เกิดขึ้นแล้ว    กิเลส-
ชาตใด  ได้แก่   วัตตมานะ   ภูตาปคตะ   โอกาสคติ   สมุทาจาระ
เกิดขึ้น     กิเลสชาตนั้นเป็นอันมรรคญาณใด ๆ ไม่พึงละ   เพราะไม่ถูก
ทำลายด้วยมรรค.   อนึ่ง  กิเลสชาตใด   กล่าวคือ  ภูมิลัทธะ  อารัมม-
ณาธิคหิตะ   อวิกขัมภิตะ  อสมูหตะ     เกิดขึ้นแล้ว     กิเลสชาตนั้น
ยังความเกิดของพระโยคีนั้นให้เสื่อมไป  เพราะโลกิยญาณและโลกุตร-
ญาณนั้นเกิดขึ้น,  ฉะนั้นกิเลสชาต  แม้ทั้งหมดนั้นก็เป็นอันมรรคนั้น ๆ
พึงละได้.     ด้วยประการฉะนี้  มรรคย่อมละกิเลสเหล่าใด    หมายเอา
กิเลสเหล่านั้น  จึงกล่าวว่า  อุปฺปนฺนานํ.
         เมื่อเป็นเช่นนั้น   การเจริญเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลที่ยังไม่เกิด
ย่อมมีได้ในขณะแห่งมรรคเป็นอย่างไร  ?  และเพื่อความตั้งมั่นแห่งกุศล
ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอย่างไร  ?   เพื่อเข้าถึงมรรคนั่นเอง.   เพราะท่านกล่าว
ว่า    มรรคที่เป็นไปอยู่   ชื่อว่ายังไม่เคยเกิด    เพราะไม่เคยเกิดมาก่อน.
จริงอยู่   มีผู้มาสู่ฐานะที่ไม่เคยมาหรือเสวยอารมณ์ที่ไม่เคยเสวย    แล้ว
กล่าวว่า   เรามาสู่ฐานะที่ยังไม่ได้มา  เราเสวยอารมณ์ที่ไม่เคยเสวยดังนี้.
ความเป็นไปแห่งกุศลธรรมนั้น  ชื่อว่า €ิติ ,  ควรกล่าวว่า  €ิติยา  ภาเวติ-
เจริญเพื่อความตั้งมั่น.  นี้คือความเพียรของภิกษุนั้นในขณะแห่งโลกุตร-
มรรคย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง  มีอาทิว่า  อนุปฺปนฺนานํ  ปาปกานํ  อกุสลานํ
ธมฺมานํ  อนุปาทาย - เพื่อยังอกุศลอันลามกที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น.
กถานี้เป็นสัมมัปธานกถาในขณะแห่งโลกุตรมรรค.   ในบทนี้ท่านชี้แจง
สัมมัปธานเจือด้วยโลกิยะและโลกุตระไว้อย่างนี้.
           พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาสตินิทเทสดังต่อไปนี้   บทว่า    กาเย
ได้แก่  รูปกาย   รูปกายในที่นี้ท่านประสงค์ว่า  กาย - หมู่  ดุจหัตถิ-
กาย  - หมู่ช้าง   รถกาย - หมู่รถ   เป็นต้น     ด้วยอรรถว่าเป็นที่รวม
อวัยวะใหญ่น้อยและสิ่งทั้งหลายมีผมเป็นต้น.  อนึ่ง  ชื่อว่า  กาย   ด้วย