๔๘๔    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๔๘๕
อรรถว่าเป็นที่เกิดแห่งสิ่งน่าเกลียดทั้งหลายเหมือน ที่ชื่อว่า  กาย   ด้วย
อรรถว่าเป็นที่รวมฉะนั้น.     ชื่อว่า   กาย  เพราะเป็นที่เกิดของสิ่งน่า
เกลียด   คือ   น่าเกลียดอย่างยิ่ง.    บทว่า   อาโย  ได้แก่   ที่เกิด.   ใน
บทนั้นมีอธิบายคำว่า   อาโย    เพราะอรรถว่า   สิ่งทั้งหลายย่อมเกิดจาก
กายนั้น.   อะไรเกิด  ?   สิ่งน่าเกลียดมีผมเป็นต้น.   ชื่อว่า   กาโย  เพราะ
อรรถว่าเป็นที่เกิดของสิ่งน่าเกลียด   ด้วยประการฉะนี้.
           บทว่า   กายานุปสฺสี - พิจารณาเห็นกาย  ได้แก่  พิจารณาเห็น
กายเป็นปกติ,   หรือพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งกาย,   แม้กล่าวว่า    กาเย   แล้ว
ยังถือเอากายเป็นครั้งที่  ๒  อีกว่า  กายานุปสฺสี    พึงทราบว่า  ท่านกล่าว
เพื่อแสดงการกำหนดและแยกออกจากเป็นก้อน  โดยไม่ปนกัน.     ด้วย
เหตุนั้น   ท่านจึงไม่กล่าวว่า  เวทนานุปสฺสี   หรือ  จิตฺตธมฺมานุปสฺสี
ในกาย,    ที่แท้ก็   กายานุปสฺสี  นั่นเอง   เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอันท่าน
แสดงการกำหนดโดยไม่ปนกันด้วยอาการของ   กายานุปัสสนา ในวัตถุ
คือ   กาย  นั่นเอง.   อนึ่ง   ภิกษุไม่พิจารณาเห็นธรรมอย่างหนึ่งพ้นจาก
อวัยวะใหญ่น้อยในกาย,  มิใช่พิจารณาเห็นหญิงและบุรุษพ้นจากผมและ
ขนเป็นต้น.   อนึ่ง  ในบทนี้ภิกษุไม่พิจารณาเห็นธรรมอย่างหนึ่งพ้นจาก
ภูตรูปและอุปาทายรูป      แม้ในกายอันเป็นที่รวมภูตรูปและอุปาทายรูป
มีผมและขนเป็นต้น.       ที่แท้พิจารณาเห็นการประชุมอวัยวะใหญ่น้อย
ดุจพิจารณาเห็นเครื่องประกอบรถ, พิจารณาเห็นการประชุมผมและขน
เป็นต้น   ดุจพิจารณาเห็นส่วนของนคร,  พิจารณาเห็นการประชุมภูต-
รูปและอุปาทายรูป  ดุจแยกต้นกล้วยใบกล้วยและเครือกล้วยออกจากกัน
และดุจแบกำมือที่เปล่าออก   เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอันท่านแสดงการแยก
ออกจากเป็นก้อน    ด้วยการเห็นโดยประการต่างกันของวัตถุ   กล่าวคือ
สังขารด้วยการประชุมกันนั่นเอง.   จริงอยู่ ในบทนี้    กายก็ดี  หญิงก็ดี
ชายก็ดี  ธรรมใดๆ อื่นก็ดีพ้นจากการประชุมกันตามที่กล่าวแล้ว   ย่อม
ไม่ปรากฏ.         แต่ในเหตุเพียงการประชุมธรรมตามที่กล่าวแล้วนั่นแล
สัตว์ทั้งหลายย่อมทำการยึดมั่นผิดอย่างนั้นๆ.  ด้วยเหตุนั้นท่านโบราณา-
จารย์ทั้งหลาย   จึงกล่าวไว้ว่า
             ยํ  ปสฺสติ  น  ตํ  ทิฏฺ€ํ      ยํ  ทิฏฺ€ํ  ตํ  น  ปสฺสติ
             อปสฺสํ พชฺฌเต มูฬฺโห        พชฺฌมาโน น มุจฺจติ
                       บุคคล  เห็นสิ่งใด   สิ่งนั้น  ชื่อว่า  อันเขา
             เห็นแล้ว   ก็หาไม่   สิ่งใดที่เห็นแล้ว   ชื่อว่า   ย่อม
             ไม่เห็นสิ่งนั้น  คนหลงเมื่อไม่เห็นย่อมติด  เมื่อติด
             ย่อมไม่หลุดพ้น  ดังนี้.
             ท่านกล่าวไว้ดังนี้    เพื่อแสดงการแยกเป็นก้อนออกไปเป็นต้น.
อนึ่ง   ด้วยอาทิศัพท์ในบทนี้พึงทราบความดังนี้, เพราะเนื้อความนี้   ได้
แก่  การพิจารณาเห็นกายในการนี้นั่นเอง.  มิใช่การพิจารณาเห็นธรรม
อื่น.   ท่านอธิบายไว้อย่างไร  ?  ท่านอธิบายไว้ว่า  มิใช่พิจารณาเห็นความ