๔๘๖    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๔๘๗
เป็นของเที่ยง   เป็นสุข   เป็นตัวตน  เป็นความงาม   ในกายนี้ซึ่งเป็น
สิ่งไม่เที่ยง   เป็นทุกข์    ไม่ใช่ตัวตน    และเป็นของไม่งามเหมือนการ
พิจารณาเห็นน้ำที่พยับแดดซึ่งไม่มีน้ำฉะนั้น,    อันที่จริงแล้วพิจารณา
เห็นกาย   ก็คือพิจารณาเห็นการประชุมอาการที่ไม่เที่ยง   เป็นทุกข์  ไม่
ใช่ตัวตน     และเป็นของไม่งามนั่นเอง.
          อีกอย่างหนึ่ง   ท่านกล่าวถึงกายมีลมอัสสาสะปัสสาสะ   เป็นเบื้อง
ต้นและมีกระดูกป่นละเอียดเป็นที่สุด  โดยนัยมีอาทิว่า   อิธ  ภิกฺขเว
ภิกฺขุ อรญฺคโต วา รุกฺขมูลคดต วา ฯเปฯ  โส  สโตว
อสฺสสติ ความว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในศาสนานี้  ไปสู่ป่าก็ดี
ไปสู่โคนไม้ก็ดี   ฯลฯ  ภิกษุนั้นมีสติหายใจเข้า ...   ในสติปัฏฐานกถา
ข้างหน้า   พึงเห็นความอย่างนี้ว่า   ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย   เพราะ
พิจารณาเห็นในกายนี้เท่านั้นของกายทั้งหมดที่ท่านกล่าวถึงกายว่า  ภิกษุ
บางรูปในศาสนานี้     ย่อมพิจารณาเห็นกองปฐวีธาตุ     กองอาโปธาตุ
กองเตโชธาตุ   กองวาโยธาตุ   กองผม    กองขน   กองผิว    กองหนัง
กองเนื้อ  กองเลือด   กองกระดูก   กองเยื่อในกระดูก.
           อีกอย่างหนึ่ง   พึงเห็นความอย่างนี้ว่า  ภิกษุพิจารณาเห็นกาย
กล่าวคือ    การประชุมธรรมมีผมเป็นต้นในกาย  เพราะพิจารณาเห็น
๑. ที. มหา. ๑๐/๒๗๔. ๒. ขุ. ป. ๓๑/๗๒๗.
การประชุมธรรมต่างๆ   มีผมและขนเป็นต้นนั้นๆ นั่นเอง     เพราะไม่
เห็นอะไร ?  ที่ควรยึดถืออย่างนี้ว่า  เรา  หรือ  ของเรา  ในกาย.   อีก
อย่างหนึ่ง    พึงเห็นความแม้อย่างนี้ว่า     ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย
แม้เพราะพิจารณาเห็นกาย   กล่าวคือ   การประชุมอาการมีอนิจลักษณะ
เป็นต้น   ทั้งหมดอันมีนัยมาแล้วข้างหน้า  โดยลำดับมีอาทิว่า  ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในกายนี้,  ไม่พิจารณาเห็นโดย
ความไม่เที่ยงเป็นของเที่ยง  ดังนี้   นี้เป็นความทั่วไปในสติปัฏฐาน ๔.
          บทว่า    กาเย   กายานุปสฺสี - ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย
ความว่า    ภิกษุพิจารณาเห็นกายอย่างหนึ่งๆ    ในกายดังที่กล่าวไว้เป็น
ส่วนมาก   มีกองอัสสาสะ   และกองปัสสาสะเป็นต้น.
          บทว่า   วิหรติ     นี้แสดงถึงการบำเพ็ญวิหารธรรมอย่างใดอย่าง
หนึ่งในวิหารธรรม  คือ   อิริยาบถ ๔.    อธิบายว่า   ภิกษุเปลี่ยนความ
เมื่อยในอิริยาบถหนึ่ง  ด้วยอิริยาบถอื่นแล้วนำตนที่ยังซบเซาอยู่ให้คล่อง
แคล่ว.
         คำว่า  อาตาปี - มีความเพียรนี้   แสดงถึงการบำเพ็ญความเพียร
กำหนดกาย.   อธิบายว่า   ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยความเพียรที่ท่าน
กล่าวว่า  อาตาโป  เพราะเผากิเลสในภพ ๓ ในสมัยนั้น,   ฉะนั้นท่านจึง
กล่าวว่า   อาตาปี - มีความเพียร.
๑. ขุ. ป. ๓๑/๗๒๗.