๔๘๘    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๔๘๙
             บทว่า  สมฺปชาโน - มีสัมปชัญญะ  คือ  เป็นผู้ประกอบด้วยญาณ
อันได้แก่    สัมปชัญญะอันกำหนดกาย.
             บทว่า  สติมา - มีสติ  คือ  เป็นผู้ประกอบด้วยสติกำหนดกาย.
ก็เพราะภิกษุนี้กำหนดอารมณ์ด้วยสติแล้วพิจารณาเห็นด้วยปัญญา.  จริง
อยู่  ผู้ไม่มีสติจะพิจารณาเห็นไม่ได้เลย.  ด้วยเหตุนั้นแหละ  พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า  สติญฺจ  ขฺวาหํ  ภิกฺขเว  สพฺพตฺถิกํ  วทามิ- ดูก่อน-
ภิกษุทั้งหลาย   เรากล่าวสติแลมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง. - ฉะนั้นใน
บทนี้ท่านจึงกล่าวถึงกรรมฐาน  คือ   กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน  ด้วย
ข้อความเพียงเท่านี้ว่า   กาเย   กายานุปสฺสี  วิหรติ - ภิกษุพิจารณา
เห็นกายในกายอยู่ดังนี้.
          อีกอย่างหนึ่ง  เพราะไม่มีความเพียรเป็นผู้หดหู่ในภายใน เป็นผู้
ทำอันตราย,    ผู้ไม่มีสัมปชัญญะย่อมหลงในการกำหนดอุบาย   และใน
การเว้นสิ่งไม่เป็นอุบาย.     ผู้มีสติหลงใหลย่อมไม่สามารถในการไม่สละ
อุบาย   และในการไม่กำหนดสิ่งไม่เป็นอุบาย     ฉะนั้น,    ด้วยเหตุนั้น
กรรมฐานนั้นจึงไม่สำเร็จ  แก่ภิกษุนั้น,  ฉะนั้นกรรมฐานเป็นย่อมสำเร็จ
ด้วยอานุภาพของธรรมเหล่าใด    เพื่อแสดงถึงธรรมเหล่านั้น   พึงทราบ
ว่าท่านจึงกล่าวบทนี้ว่า   อาตาปี   สมฺปชาโน  สติมา - ภิกษุมีความ
เพียร  มีสัมปชัญญะ  มีสติดังนี้.
๑. สํ.มหา. ๑๙/๕๕๒.
             พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง     กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
และองค์ประกอบแล้วบัดนี้   เพื่อทรงแสดงองค์แห่ง  ปหานะ   จึงตรัสว่า
วิเนยฺย   โลเก   อภิชฺฌาโทมนสฺสํ - กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสีย.
             ในบทเหล่านั้นบทว่า   วิเนยฺย- กำจัดเสีย   ได้แก่   กำจัดด้วย
ตทังควินัย - กำจัดชั่วคราวหรือวิกขัมภนวินัย - กำจัดด้วยการข่มไว้.
             บทว่า   โลเก   ความว่า   กายใดกำหนดไว้ในคราวก่อน    กาย
นั้นนั่นแล    ชื่อว่า  โลก   ในที่นี้   ด้วยอรรถว่าแตกและสะลายไป   ละ
อภิชฌาและโทมนัสในโลกนั้นเสีย.
            อนึ่ง   เพราะภิกษุนั้นย่อมอภิชฌา   และโทมนัสในส่วนเพียง
กายเท่านั้นก็หาไม่,   ย่อมละแม้ในเวทนาเป็นต้นอีกด้วย,     ฉะนั้นท่าน
จึงกล่าวไว้ในวิภังค์ว่า   ปญฺจปิ   อุปาทานกฺขนฺธา  โลโก - แม้อุปา-
ทานขันธ์  ๕  ก็เป็นโลก.   พึงทราบว่า  ท่านกล่าวบทนี้ด้วยการถอดความ
ซึ่งธรรมเหล่านั้น   เพราะธรรมเหล่านั้นนับเข้าในโลก.
            พระสารีบุตรกล่าวว่า  ในบทว่า   โลเก  นั้น  โลกเป็นไฉน ?
กายนั้นนั่นแลเป็นโลก.    นี้เป็นคำอธิบายในบทนี้.  ท่านกล่าวย่อไว้ว่า
อภิชฺฌาโทมนสฺสํ  ดังนี้.     ก็ในระหว่างปาฐะในสังยุตตนิกายและอัง-
คุตตรนิกาย    อาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ต่างหากกัน.     ชื่อว่า   อภิชฺฌา
เพราะอรรถว่าเป็นเหตุเพ่ง  คือ  ปรารถนาหรือเพ่งเอง  หรือเพียงความ
๑. อภิ. วิ. ๓๕/๔๔๐.