๔๙๐    ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ๖๘.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑    ๔๙๑
เพ่งเท่านั้น.  อนึ่ง ในบทว่า อภิชฌาโทมนสฺสํ นี้    เพราะกามฉันทะ
สงเคราะห์เข้ากับอภิชฌา.   พยาบาทสงเคราะห์เข้ากับโทมนัส.    ฉะนั้น
พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงการละนิวรณ์  ด้วยแสดงธรรมทั้งสองอันเป็น
ธรรมมีกำลังนับเนื่องในนิวรณ์.
          อนึ่ง  ในบทนี้โดยความต่างกันท่านกล่าวถึงการละความยินดีอัน
เป็นมูลเหตุของสมบัติทางกาย    ด้วยกำจัดอภิชฌา,      ละความยินร้าย
อันเป็นมูลเหตุของความวิบัติทางกาย  ช่วยกำจัดโทมนัส.  อนึ่ง ละความ
ยินดีในกายด้วยกำจัดอภิชฌา,   ละความไม่ยินดีในกายภาวนาด้วยกำจัด
โทมนัส,   ละการเพิ่มเติมความงามและความสุขเป็นต้น    ที่ไม่เป็นจริง
ในกายด้วยกำจัดอภิชฌา,     ละการนำออกความไม่งามความไม่เป็นสุข
เป็นต้น   อันเป็นจริงในกายด้วยกำจัดโทมนัส.     เป็นอันท่านแสดงถึง
อานุภาพของโยคะ   และความสามารถในโยคะของพระโยคาวจรด้วยบท
นั้น.      อานุภาพของโยคะ   คือ   พระโยคาวจรเป็นผู้พ้นจากความยินดี
ยินร้าย   เป็นผู้อดกลั้นความไม่ยิน  และความยินดี    และเป็นผู้เว้นจาก
การเพิ่มเติมในสิ่งที่ไม่เป็นจริง   และการนำสิ่งที่เป็นจริงออก.
           อนึ่ง   พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้พ้นจากความยินดียินร้าย    เป็นผู้
อดกลั้นความไม่ยินดี  และความยินดี   ไม่หมกมุ่นในสิ่งไม่เป็นจริง   และ
กำจัดสิ่งเป็นจริง      เป็นผู้สามารถในโยคะด้วยประการฉะนี้.
         อีกนัยหนึ่งในบทว่า   กาเย   กายานุปสฺสี  นี้    ท่านกล่าวถึง
กรรมฐานแห่ง  อนุปสฺสนา   ในบทว่า  วิหรติ   นี้  ท่านกล่าวถึงการ
บริหารกายของภิกษุผู้บำเพ็ญกรรมฐานด้วยวิหารธรรมดังกล่าวแล้ว. พึง
ทราบว่า  ในบทมีอาทิว่า  อาตาปี  ท่านกล่าวถึงสัมมัปธานด้วยความเพียร,
กล่าวธรรมฐานอันมีประโยชน์ทั้งหมด   หรืออุบายการบริหารกรรมฐาน
ด้วยสติสัมปชัญญะ,    กล่าวสมถะที่ได้ด้วยอำนาจกายานุปัสสนาด้วยสติ,
กล่าววิปัสสนาด้วยสัมปชัญญะ,     กล่าวผู้ของภาวนาด้วยกำจัดอภิชฌา
และโทมนัส.
         อนึ่ง  ในบทมีอาทิว่า  เวทนาสุ   เวทนานุปสฺสี -  ภิกษุพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย  พึงประกอบความในคำของเวทนาเป็นต้น
ต่อไปแล้วพึงทราบตามควรโดยนัยดังกล่าวแล้ว     ในกายานุปัสสนานั่น
แล. อรรถอันไม่ทั่วไปมีดังต่อไปนี้   ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาอย่างหนึ่ง ๆ
โดยมีความไม่เที่ยงเป็นต้น  เป็นอย่าง ๆ ไป ในเวทนาทั้งหลายมีประเภท
ไม่น้อยมีสุขเวทนาเป็นต้น,    พิจารณาเป็นจิตดวงหนึ่ง ๆ โดยมีความไม่
เที่ยงเป็นต้น อย่างหนึ่ง ๆ  ในจิตมีประเภท ๑๖ ดวง มีจิตมีราคะเป็นต้น,
พิจารณาเห็นธรรมอย่างหนึ่ง ๆ โดยมีความไม่เที่ยงเป็นต้น  อย่างหนึ่ง ๆ
ในธรรมเป็นไปในภูมิ  ๓   ที่เหลือ    เว้นกายเวทนา    และจิต,    หรือ
พิจารณาเป็นธรรมมีนิวรณ์เป็นต้น    โดยนัยดังกล่าวแล้วในสติปัฏฐาน
สูตร.
๑. ที. มหา. ๑๐/๒๗๓.